- กระทู้ ผู้เขียน
- #1,361
วันนี้ผมเอาบทความดีๆมาให้อ่านกันคับ
ประเภทของสีพ่นรถยนต์
โดยทั่วไปเราแบ่งสีพ่นรถยนต์ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. สี 1K : คือสีระบบ 1 องค์ประกอบ (1 Komponent) คือประกอบด้วยส่วนของตัวสีเพียงอย่างเดียว ในการใช้ งานอาจนำมาผสมกับตัวทำละลาย เช่นทินเนอร์เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น แต่ตัวทำละลายที่นำมาผสม นี้ จะไม่นับเป็นองค์ประกอบ เนื่องจากตัวทำละลายจะระเหยตัวออกไปจนหมดหลังการใช้งาน เหลือเพียงฟิล์ม สีที่แห้งตัวแล้วเท่านั้น โดยทั่วไปแล้ว เราจะเข้าใจว่าสี 1K หมายถึง “สีแห้งเร็ว” ซึ่งไม่ถูกต้องนัก เนื่องจากสี 1K มีด้วยกัน หลายชนิด ได้แก่
สี 1K ซินเทติกอีนาเมล หรือสีน้ำมัน เป็นสี 1K แบบแห้งตัวช้า ซึ่งแห้งตัวโดยการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ (Qxidation)
สี 1K ไนโตรเซลลูโลส เป็นสี 1K แบบแห้งตัวเร็ว ซึ่งแห้งตัวโดยการระเหยตัวของตัวทำละลาย เช่นทินเนอร์ (Physical Drying)
สี 1K อะคริลิค เป็นสี 1K แบบแห้งตัวเร็ว ซึ่งแห้งตัวโดยการระเหยตัวของตัวทำละลาย เช่นทินเนอร์ (Physical Drying)
2. สี OEM : คือสีที่ใช้ในโรงงานประกอบรถยนต์ สีชนิดนี้มีเพียงองค์ประกอบเดียว ในการใช้งานอาจนำมาผสมกับ ตัวทำละลายเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น สีชนิดนี้จะแห้งตัวโดยการการอบที่อุณหภูมิสูงประมาณ 120- 160 C จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “สีอบ”(High Bake Paint) หลังจากสีแห้งตัวแล้ว จะมีฟิล์มสีที่มีคุณภาพดีมาก ความแข็งแรงของชั้นฟิล์มสีสูง มีความทนทานต่อตัวทำละลายเช่นทินเนอร์ หรือน้ำมันเบนซิน / ดีเซลได้ดีมาก และทนทานต่อสารเคมีต่างๆ เช่นน้ำมันเบรกได้ดี นอกจากนี้ยังมีการยึดเกาะที่ดีเยี่ยม ให้ความเงาที่ดี มีเนื้อสี มาก รวมทั้งสามารถทนทานต่อแสงแดดได้ดี จึงไม่ซีดจางง่าย มีความคงทนสูงและคงสภาพเดิมได้นานมาก
3. สี 2K : คือสีระบบ 2 องค์ประกอบ (2 Komponent) คือประกอบด้วยส่วนของตัวสี ซึ่งคือองค์ประกอบที่ 1 และตัวเร่งปฏิกิริยา (Hardener หรือ Activator) ซึ่งคือองค์ประกอบที่ 2 โดยก่อนใช้งานต้องนำทั้ง 2 องค์ ประกอบมาผสมกันตามอัตราส่วน เพื่อให้เกิดการทำปฏิกิริยาทางเคมี ซึ่งจะทำให้สีเกิดการแห้งตัว (Chemical Drying) สี 2K ที่ใช้ในงานสีรถยนต์ จะมี 2 ชนิดหลักด้วยกัน คือสี 2K แบบ “อีพ็อกซี่” และสี 2K แบบ “โพลียู รีเทน” (หรือผสมกับอะครีลิค) สำหรับตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้จะเป็นสารประเภท ไอโซไซยาเนท (Isocyanate) ซึ่งจะ ทำให้สีเกิดการแห้งตัวภายหลังผสมตามอัตราส่วนที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด สี 2K หลังจากแห้งตัวแล้ว จะมีคุณ สมบัติในด้านความแข็งแรงของชั้นฟิล์มสีสูง มีความทนทานต่อตัวทำละลายเช่นทินเนอร์ หรือน้ำมันเบนซิน / ดีเซลได้ดีมาก และทนทานต่อสารเคมีต่างๆ เช่นน้ำมันเบรกได้ดี นอกจากนี้ยังมีการยึดเกาะที่ดีเยี่ยม ให้ความ เงางามสูง มีเนื้อสีมาก รวมทั้งสามารถทนทานต่อแสงแดดได้ดี จึงไม่ซีดจางง่าย มีความคงทนสูงและคงสภาพ เดิมได้นานมาก กล่าวคือมีคุณสมบัติที่เทียบเคียงได้กับสี OEM
>>>>> โดยทั่วไป เราจะเรียกสี 2K ว่า "สีแห้งช้า" ซึ่งก็ไม่ถูกต้องทั้งหมด เนื่องจากสี 2K ในปัจจุบันนี้ ได้ถูกพัฒนาให้สามารถแห้งตัวได้เร็วขึ้นมาก โดยที่คุณสมบัติความทนทานแตกต่างกันไป !!!!! <<<<<
สำหรับการพ่นซ่อมสีรถยนต์ในอู่ หรือศูนย์ซ่อมสีทั่วไปนั้น จะเลือกใช้สีได้แค่ 2 แบบ คือสี 1K หรือสี 2K เท่านั้น ไม่สามารถนำสี OEM มาใช้ได้ เนื่องจากสี OEM จะต้องอบที่อุณหภูมิสูงมาก ซึ่งอู่หรือศูนย์ไม่ สามารถทำได้ ในปัจจุบันนี้อู่หรือศูนย์ซ่อมสีชั้นนำจะหันมาใช้สีระบบ 2K เนื่องจากมีคุณภาพโดยรวมที่ดีกว่าสี 1K มาก
คุณสมบัติที่กล่าวมาในเบื้องต้นนั้น ขึ้นอยู่กับกระบวนการทำงานที่ถูกต้องตามที่บริษัทผู้ผลิตสีเป็นผู้กำหนดและอู่รถที่จะใช้งานระบบสี 2K ควรจะเป็นอู่ที่มีมาตรฐาน และมีอุปกรณ์ในการทำงานที่ทันสมัยเหมาะที่จะใช้สี 2K เช่น ห้องพ่นสี ระบบถังปั้มลม กาพ่นสี รวมถึงช่างสีที่มีประสบการณ์ พร้อมทั้งเคยได้รับคำแนะนำและการอบรมจากบริษัทผู้ผลิต
ส่วนประกอบหลักของระบบสี 2K
สี 2K มีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 2 ส่วนคือ
ส่วนที่เป็นเนื้อสี
จะเกิดมาจากส่วนผสมหลัก 4 ส่วน ซึ่งรวมกันเป็นเนื้อเดียวและอยู่ในกระป๋องเดียวกันแล้ว คือ กาวหรือเรซิ่น (RESIN) หรืออาจเรียกว่า BINDER หรือ FILM FORMER ทำหน้าที่เป็นตัวยึดเกาะของส่วนประกอบอื่นๆ ของสี เมื่อสีแห้งแล้ว เรซิ่นจะเกาะตัวเข้าด้วยกันเกิดเป็นเนื้อฟิล์มขึ้น ซึ่งเรซิ่นที่ใช้ในสีประเภทนี้คือ โพลียูรีเทน ที่มีคุณสมบัติเด่นหลายอย่าง เช่น ความเงา ความแข็ง การยึดเกาะ การทนต่อสารเคมี ทนต่อความชื้น เป็นต้น
ผงสี (PIGMENT) เป็นสารที่ทำหน้าที่ในการปกปิดพื้นผิว และทำให้เกิดสีสันต่างๆ เช่นดำ แดง เหลือง เขียว หรืออาจใช้กันสนิมได้อีกด้วย แต่ในกรณีที่เป็นเคลียร์ที่ใช้เคลือบเงา จะไม่มีผงสีผสมอยู่
ตัวทำละลาย ( SOLVENT) ทำหน้าที่ในการช่วยให้ผงสีและเรซิ่น กระจายตัวเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ทั้งยังทำหน้าที่ในการเจือจางหรือปรับความข้นเหลวของสีให้เหมาะสมสำหรับการใช้งาน ด้วย
สารปรับแต่ง (ADDITIVE) เป็นส่วนประกอบที่หน้าที่เพิ่มคุณสมบัติหรือลดข้อด้อยบางอย่างของสี เช่น ช่วยให้ฟิล์มเรียบขึ้น ช่วยป้องกันแสงอุลตร้าไวโอเลตจากแสงอาทิตย์ ช่วยป้องกันการแยกตัวของผงสีและ เรซิ่น ป้องกันการตกตะกอน เป็นต้น
สี 2K ที่ดีเป็นอย่างไร ?
จากที่ทราบกันเป็นอย่างดีแล้วว่า สี 2K นั้น มีคุณภาพดีกว่าสี 1K อย่างเทียบกันไม่ติดในหลายๆด้าน จึงเป็นผลให้ อู่ซ่อมสีชั้นนำในปัจจุบันนี้ หันมาใช้สี 2K กันแทบทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ตาม สี2K ในท้องตลาดเองก็มีหลากหลายยี่ห้อ ซึ่ง แน่นอนว่าคุณภาพแตกต่างกันออกไป เราจึงควรทราบว่าสี 2K ที่ดีนั้น แตกต่างจากสี 2K ทั่วไปอย่างไร เวลาท่านเลือกอู่สีที่มีราคาถูก เพราะต้องการประหยัดเงิน อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ถุกต้องเสมอไป ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องดูที่วัสดุที่ใช้และฝีมือการทำงาน
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต Raw Materials
จากที่ทราบแล้วว่า สี 2K มีส่วนประกอบหลักหลายส่วนด้วยกัน ซึ่งในกระบวนการผลิตสี 2K ให้มีคุณภาพดีนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพสูง เช่นการเลือกใช้ เรซิ่นที่มีคุณภาพดี ส่งผลให้สี 2K นั้นๆมีคุณสมบัติในมี ความแข็งแรงของชั้นฟิล์มสีที่ดีมาก การยึดเกาะที่ดี ไม่หลุดล่อนง่าย มีความเงางามสูง และทนต่อสารเคมีต่างๆได้ดีเป็นพิเศษ ส่วนการเลือกใช้ผงสีที่มีคุณภาพดี สำหรับสีทับหน้า ก็จะทำให้สี 2K นั้นๆ มีสีสันที่สดสวย สีมีความคงทน ไม่ว่าจะเป็นสี เมทัลลิค (สีที่มีส่วนผสมของบรอนซ์ ซึ่งจะทำให้เกิดการเป็นประกายเมื่อกระทบแสง) หรือสีมุก (สีที่มีส่วนผสมของมุก ซึ่ง ทำให้เกิดการมองเห็นสีที่เหลือบตามุมมอง) หรือถ้าเป็นสีรองพื้น การเลือกผงสีที่คุณสมบัติในการป้องกันสนิมที่ดี ก็จะทำให้ เรามั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดสนิมขึ้นในภายหลังอย่างแน่นอน ส่วนสารปรับแต่งก็เป็นอีกตัวหนึ่ง ที่จะช่วยทำให้คุณสมบัติของสีดี ขึ้น ถึงแม้ว่า โดยทั่ว ๆไป สารปรับแต่งจะมีราคาสูงมากก็ตาม การเลือกเติมสารปรับแต่งบางตัวลงไป เช่น Anti-UV จะช่วย ปกป้องฟิล์มสีจากรังสียูวีของดวงอาทิตย์ ทำให้สีมีความเงางามและสีสันที่สดสวย ไม่ซีด ไม่จางง่ายตลอดอายุการใช้งาน กระบวนการผลิต ( Process)
นอกจากการเลือกใช้วัตถุดิบในการผลิตที่มีคุณภาพดีแล้ว กระบวนการผลิตก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ส่งผลต่อคุณภาพ ของผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตที่ดีนั้น จะหมายถึงการใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผู้ปฏิบัติงานที่มีทักษะสูง รวมถึงระบบการควบคุมคุณภาพที่ดี เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี และมีความคงที่ครับ
ประเภทของสีพ่นรถยนต์
โดยทั่วไปเราแบ่งสีพ่นรถยนต์ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. สี 1K : คือสีระบบ 1 องค์ประกอบ (1 Komponent) คือประกอบด้วยส่วนของตัวสีเพียงอย่างเดียว ในการใช้ งานอาจนำมาผสมกับตัวทำละลาย เช่นทินเนอร์เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น แต่ตัวทำละลายที่นำมาผสม นี้ จะไม่นับเป็นองค์ประกอบ เนื่องจากตัวทำละลายจะระเหยตัวออกไปจนหมดหลังการใช้งาน เหลือเพียงฟิล์ม สีที่แห้งตัวแล้วเท่านั้น โดยทั่วไปแล้ว เราจะเข้าใจว่าสี 1K หมายถึง “สีแห้งเร็ว” ซึ่งไม่ถูกต้องนัก เนื่องจากสี 1K มีด้วยกัน หลายชนิด ได้แก่
สี 1K ซินเทติกอีนาเมล หรือสีน้ำมัน เป็นสี 1K แบบแห้งตัวช้า ซึ่งแห้งตัวโดยการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ (Qxidation)
สี 1K ไนโตรเซลลูโลส เป็นสี 1K แบบแห้งตัวเร็ว ซึ่งแห้งตัวโดยการระเหยตัวของตัวทำละลาย เช่นทินเนอร์ (Physical Drying)
สี 1K อะคริลิค เป็นสี 1K แบบแห้งตัวเร็ว ซึ่งแห้งตัวโดยการระเหยตัวของตัวทำละลาย เช่นทินเนอร์ (Physical Drying)
2. สี OEM : คือสีที่ใช้ในโรงงานประกอบรถยนต์ สีชนิดนี้มีเพียงองค์ประกอบเดียว ในการใช้งานอาจนำมาผสมกับ ตัวทำละลายเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น สีชนิดนี้จะแห้งตัวโดยการการอบที่อุณหภูมิสูงประมาณ 120- 160 C จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “สีอบ”(High Bake Paint) หลังจากสีแห้งตัวแล้ว จะมีฟิล์มสีที่มีคุณภาพดีมาก ความแข็งแรงของชั้นฟิล์มสีสูง มีความทนทานต่อตัวทำละลายเช่นทินเนอร์ หรือน้ำมันเบนซิน / ดีเซลได้ดีมาก และทนทานต่อสารเคมีต่างๆ เช่นน้ำมันเบรกได้ดี นอกจากนี้ยังมีการยึดเกาะที่ดีเยี่ยม ให้ความเงาที่ดี มีเนื้อสี มาก รวมทั้งสามารถทนทานต่อแสงแดดได้ดี จึงไม่ซีดจางง่าย มีความคงทนสูงและคงสภาพเดิมได้นานมาก
3. สี 2K : คือสีระบบ 2 องค์ประกอบ (2 Komponent) คือประกอบด้วยส่วนของตัวสี ซึ่งคือองค์ประกอบที่ 1 และตัวเร่งปฏิกิริยา (Hardener หรือ Activator) ซึ่งคือองค์ประกอบที่ 2 โดยก่อนใช้งานต้องนำทั้ง 2 องค์ ประกอบมาผสมกันตามอัตราส่วน เพื่อให้เกิดการทำปฏิกิริยาทางเคมี ซึ่งจะทำให้สีเกิดการแห้งตัว (Chemical Drying) สี 2K ที่ใช้ในงานสีรถยนต์ จะมี 2 ชนิดหลักด้วยกัน คือสี 2K แบบ “อีพ็อกซี่” และสี 2K แบบ “โพลียู รีเทน” (หรือผสมกับอะครีลิค) สำหรับตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้จะเป็นสารประเภท ไอโซไซยาเนท (Isocyanate) ซึ่งจะ ทำให้สีเกิดการแห้งตัวภายหลังผสมตามอัตราส่วนที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด สี 2K หลังจากแห้งตัวแล้ว จะมีคุณ สมบัติในด้านความแข็งแรงของชั้นฟิล์มสีสูง มีความทนทานต่อตัวทำละลายเช่นทินเนอร์ หรือน้ำมันเบนซิน / ดีเซลได้ดีมาก และทนทานต่อสารเคมีต่างๆ เช่นน้ำมันเบรกได้ดี นอกจากนี้ยังมีการยึดเกาะที่ดีเยี่ยม ให้ความ เงางามสูง มีเนื้อสีมาก รวมทั้งสามารถทนทานต่อแสงแดดได้ดี จึงไม่ซีดจางง่าย มีความคงทนสูงและคงสภาพ เดิมได้นานมาก กล่าวคือมีคุณสมบัติที่เทียบเคียงได้กับสี OEM
>>>>> โดยทั่วไป เราจะเรียกสี 2K ว่า "สีแห้งช้า" ซึ่งก็ไม่ถูกต้องทั้งหมด เนื่องจากสี 2K ในปัจจุบันนี้ ได้ถูกพัฒนาให้สามารถแห้งตัวได้เร็วขึ้นมาก โดยที่คุณสมบัติความทนทานแตกต่างกันไป !!!!! <<<<<
สำหรับการพ่นซ่อมสีรถยนต์ในอู่ หรือศูนย์ซ่อมสีทั่วไปนั้น จะเลือกใช้สีได้แค่ 2 แบบ คือสี 1K หรือสี 2K เท่านั้น ไม่สามารถนำสี OEM มาใช้ได้ เนื่องจากสี OEM จะต้องอบที่อุณหภูมิสูงมาก ซึ่งอู่หรือศูนย์ไม่ สามารถทำได้ ในปัจจุบันนี้อู่หรือศูนย์ซ่อมสีชั้นนำจะหันมาใช้สีระบบ 2K เนื่องจากมีคุณภาพโดยรวมที่ดีกว่าสี 1K มาก
คุณสมบัติที่กล่าวมาในเบื้องต้นนั้น ขึ้นอยู่กับกระบวนการทำงานที่ถูกต้องตามที่บริษัทผู้ผลิตสีเป็นผู้กำหนดและอู่รถที่จะใช้งานระบบสี 2K ควรจะเป็นอู่ที่มีมาตรฐาน และมีอุปกรณ์ในการทำงานที่ทันสมัยเหมาะที่จะใช้สี 2K เช่น ห้องพ่นสี ระบบถังปั้มลม กาพ่นสี รวมถึงช่างสีที่มีประสบการณ์ พร้อมทั้งเคยได้รับคำแนะนำและการอบรมจากบริษัทผู้ผลิต
ส่วนประกอบหลักของระบบสี 2K
สี 2K มีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 2 ส่วนคือ
ส่วนที่เป็นเนื้อสี
จะเกิดมาจากส่วนผสมหลัก 4 ส่วน ซึ่งรวมกันเป็นเนื้อเดียวและอยู่ในกระป๋องเดียวกันแล้ว คือ กาวหรือเรซิ่น (RESIN) หรืออาจเรียกว่า BINDER หรือ FILM FORMER ทำหน้าที่เป็นตัวยึดเกาะของส่วนประกอบอื่นๆ ของสี เมื่อสีแห้งแล้ว เรซิ่นจะเกาะตัวเข้าด้วยกันเกิดเป็นเนื้อฟิล์มขึ้น ซึ่งเรซิ่นที่ใช้ในสีประเภทนี้คือ โพลียูรีเทน ที่มีคุณสมบัติเด่นหลายอย่าง เช่น ความเงา ความแข็ง การยึดเกาะ การทนต่อสารเคมี ทนต่อความชื้น เป็นต้น
ผงสี (PIGMENT) เป็นสารที่ทำหน้าที่ในการปกปิดพื้นผิว และทำให้เกิดสีสันต่างๆ เช่นดำ แดง เหลือง เขียว หรืออาจใช้กันสนิมได้อีกด้วย แต่ในกรณีที่เป็นเคลียร์ที่ใช้เคลือบเงา จะไม่มีผงสีผสมอยู่
ตัวทำละลาย ( SOLVENT) ทำหน้าที่ในการช่วยให้ผงสีและเรซิ่น กระจายตัวเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ทั้งยังทำหน้าที่ในการเจือจางหรือปรับความข้นเหลวของสีให้เหมาะสมสำหรับการใช้งาน ด้วย
สารปรับแต่ง (ADDITIVE) เป็นส่วนประกอบที่หน้าที่เพิ่มคุณสมบัติหรือลดข้อด้อยบางอย่างของสี เช่น ช่วยให้ฟิล์มเรียบขึ้น ช่วยป้องกันแสงอุลตร้าไวโอเลตจากแสงอาทิตย์ ช่วยป้องกันการแยกตัวของผงสีและ เรซิ่น ป้องกันการตกตะกอน เป็นต้น
สี 2K ที่ดีเป็นอย่างไร ?
จากที่ทราบกันเป็นอย่างดีแล้วว่า สี 2K นั้น มีคุณภาพดีกว่าสี 1K อย่างเทียบกันไม่ติดในหลายๆด้าน จึงเป็นผลให้ อู่ซ่อมสีชั้นนำในปัจจุบันนี้ หันมาใช้สี 2K กันแทบทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ตาม สี2K ในท้องตลาดเองก็มีหลากหลายยี่ห้อ ซึ่ง แน่นอนว่าคุณภาพแตกต่างกันออกไป เราจึงควรทราบว่าสี 2K ที่ดีนั้น แตกต่างจากสี 2K ทั่วไปอย่างไร เวลาท่านเลือกอู่สีที่มีราคาถูก เพราะต้องการประหยัดเงิน อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ถุกต้องเสมอไป ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องดูที่วัสดุที่ใช้และฝีมือการทำงาน
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต Raw Materials
จากที่ทราบแล้วว่า สี 2K มีส่วนประกอบหลักหลายส่วนด้วยกัน ซึ่งในกระบวนการผลิตสี 2K ให้มีคุณภาพดีนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพสูง เช่นการเลือกใช้ เรซิ่นที่มีคุณภาพดี ส่งผลให้สี 2K นั้นๆมีคุณสมบัติในมี ความแข็งแรงของชั้นฟิล์มสีที่ดีมาก การยึดเกาะที่ดี ไม่หลุดล่อนง่าย มีความเงางามสูง และทนต่อสารเคมีต่างๆได้ดีเป็นพิเศษ ส่วนการเลือกใช้ผงสีที่มีคุณภาพดี สำหรับสีทับหน้า ก็จะทำให้สี 2K นั้นๆ มีสีสันที่สดสวย สีมีความคงทน ไม่ว่าจะเป็นสี เมทัลลิค (สีที่มีส่วนผสมของบรอนซ์ ซึ่งจะทำให้เกิดการเป็นประกายเมื่อกระทบแสง) หรือสีมุก (สีที่มีส่วนผสมของมุก ซึ่ง ทำให้เกิดการมองเห็นสีที่เหลือบตามุมมอง) หรือถ้าเป็นสีรองพื้น การเลือกผงสีที่คุณสมบัติในการป้องกันสนิมที่ดี ก็จะทำให้ เรามั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดสนิมขึ้นในภายหลังอย่างแน่นอน ส่วนสารปรับแต่งก็เป็นอีกตัวหนึ่ง ที่จะช่วยทำให้คุณสมบัติของสีดี ขึ้น ถึงแม้ว่า โดยทั่ว ๆไป สารปรับแต่งจะมีราคาสูงมากก็ตาม การเลือกเติมสารปรับแต่งบางตัวลงไป เช่น Anti-UV จะช่วย ปกป้องฟิล์มสีจากรังสียูวีของดวงอาทิตย์ ทำให้สีมีความเงางามและสีสันที่สดสวย ไม่ซีด ไม่จางง่ายตลอดอายุการใช้งาน กระบวนการผลิต ( Process)
นอกจากการเลือกใช้วัตถุดิบในการผลิตที่มีคุณภาพดีแล้ว กระบวนการผลิตก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ส่งผลต่อคุณภาพ ของผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตที่ดีนั้น จะหมายถึงการใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผู้ปฏิบัติงานที่มีทักษะสูง รวมถึงระบบการควบคุมคุณภาพที่ดี เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี และมีความคงที่ครับ