- กระทู้ ผู้เขียน
- #21
ทำไมต้องติดเกจร์วัด รถบ้านๆต้องติดด้วยหรอ {งั้นเรามาดูข้อมูลของเกจร์วัดแต่ละตัวกัน}
เกจวัดต่างๆในรถยนต์ มีหน้าที่อย่างไร นอกจากเท่ห์แล้ว
ข้อมูลทั้งหมดที่จะนำเสนอในครั้งนี้ ประกอบด้วย 9 มาตรวัด ค่าต่างๆเกี่ยวกับรถยนต์ โดยมีข้อมูลดังต่อไปนี้
1. มาตรวัดอุณหภูมิเครื่องยนต์ (WATER TEMP METER)
Defi Advance Water Temp วัดความร้อนหม้อน้ำ
สำหรับมาตรวัดความร้อนตามปกติในรถธรรมดาทั่วไป ก็จะมีติดตั้งมาให้เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว
แต่ว่ารถยนต์ทั่วไปนั้นอาจไม่ได้อ่อนไหวในเรื่องของความร้อนมากนัก ค่าแสดงให้เห็นจึงไม่ละเอียด ทั้งนี้เป็นเพราะทางโรงงานตั้งใจทำมาอย่างนั้น เพื่อคนขับจะได้ไม่ต้องเป็นห่วงมาก แต่ว่าเมื่อไหร่ที่เกจความร้อนขยับสูงขึ้น หรือไฟแสดงผลแสดงสำหรับรถรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ติดตั้งเกจวัดความร้อนมาให้จากโรงงาน นั่นหมายความว่าความร้อนขึ้นค่อนข้างมาก หากทิ้งไว้นานอาจไม่ทันการเครื่องยนต์อาจเสียหายก่อนได้ โดยเฉพาะรถยนต์ที่ติดแก๊ส หรือใช้เครื่องยนต์เทอร์โบและมีการโมดิฟาย หรือปรับบูสต์ เครื่องยนต์จะร้อนกว่าปกติ เรื่องปัญหาความร้อนมีความสำคัญมาก เพราะอาจหมายถึงความเสียหายที่เกิดกับเครื่องยนต์ได้ เช่นเครื่องน๊อค หรือฝาสูบโก่งเพราะความร้อนเกิน โดยปกติเซ็นเซอร์ที่ใช้วัดความร้อนของเครื่องยนต์จะติดตั้งอยู่ตรงท่อน้ำที่ออกจากเครื่อง ซึ่งอุณหภูมิโดยปกติที่เครื่องยนต์ทำงานควรจะอยู่ที่ราว 90-100 องศาเซลเซียส และควรควบคุมไม่ให้สูงขึ้นเกินไปกว่า 120 องศาเซลเซียส หากว่าอุณหภูมิยังสูงขึ้นก็พอมีวิธีแก้ไขคือ เพิ่มขนาดของหม้อน้ำให้ใหญ่ขึ้น เปิดกันชนหน้าให้ลมผ่านเข้าหม้อน้ำได้ง่ายขึ้น หรือไม่ก็เจาะสคูปดักลมบนฝากระโปรงหน้า ให้ลมเข้ามาเป่าห้องเครื่อง วิธีการเหล่านี้พอจะสามารถทำให้เครื่องยนต์เย็นได้บ้างเหมือนกัน
2. โวลท์ มิเตอร์ (VOLT METER)
Defi Advance Volts วัดกระแสไฟ
ใช้วัดพลังงานแบตเตอรี่รถยนต์ว่าเหลือเท่าไหร่ เหมาะกับรถที่ติดเครื่องเสียง หรือรถยนต์ทั่วไปเพื่อบอกสถานะไฟแบต ทำให้ไม่ต้องเสี่ยงที่จะต้องเข็นรถเนื่องจากสตาร์ทไม่ติด เนื่องจาก แบตเตอรี่สมัยนี้มักไม่ค่อยทนและไม่บอกพลังไฟที่เหลือ พอไฟหมดก็สตาร์ทไม่ติดเลย ตัวมิเตอร์สามารถช่วยบอกสถานะได้เป็นอย่างดี ใช้เพื่อเช็คดูประสิทธิภาพและกำลังไฟของแบตเตอรี่เพื่อไม่ให้ เกิดปัญหาในการใช้งาน หรือสตาร์ทไม่ติด
วิเคราะห์ระบบไฟฟ้าในรถจากค่าที่อ่านได้จากโวลท์มิเตอร์
- ขณะดับเครื่องค่าควรอยู่ประมาณ 12-12.8 โวลท์ ถ้าต่ำกว่า12 ถือว่าผิดปกติอาจมีสาเหตุมาจากแบตเตอรี่เริ่มเสื่อม (เก็บไฟไม่อยู่) หรือไดชาร์จชาร์จไฟได้ไม่เต็มที่ (ดูในหัวข้อการตรวจสอบไดชาร์จ)
- วิธีตรวจสอบว่าแบตเสื่อมหรือไม่ทดสอบได้โดยหลังจากขับรถปกติมาจอดและดับเครื่องประมาณ 1 นาที ค่าที่อ่านจากมิเตอร์ต้องมีค่าระหว่าง 12-12.8 โวลท์ หลังจอดไว้ (4-6ชั่วโมง) หรือข้ามวันค่าที่อ่านได้ต้องประมาณ 12-12.8 โวลท์ เท่าเดิมถือว่าปกติ ถ้ามีค่าต่ำกว่านี้มากๆ เช่น 11.5-11.9 แบตเตรี่เริ่มเก็บไฟไม่อยู่แต่ยังพอไหว แต่ถ้าต่ำกว่า 11.5 โวลท์ลงไป ถือว่าอันตรายเพราะถ้าจอดทิ้งสัก 2 วันอาจสตาร์ทไม่ติด (ถ้าอายุแบตเตอรี่ยังใหม่ก็อาจจะเกิดจากมีกระแสไฟฟ้า รั่วลงกราวด์ แนะนำเข้าร้านให้ช่างไฟฟ้ารถยนต์ตรวจสอบครับ) ***อายุแบตเตอรี่ทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 18-24 เดือน แล้วแต่การดูแล***
การตรวจสอบไดชาร์จจากการอ่านค่าจากโวลท์มิเตอร์ ให้ทำการติดเครื่องยนต์แล้วอ่านค่าจากโวลท์มิเตอร์ค่าปกติได้ดังนี้
1. ที่รอบเครื่องยนต์ 1000 รอบต่อนาที (รอบเดินเบา) จะต้องมีค่าประมาณ 13.5-13.8 โวลท์ ถ้ามีค่าต่ำกว่านี้เช่น 12.8-13.4 โวลท์ไดชาร์จเริ่มมีปัญหาคือชาร์จไฟได้ไม่เต็มที่ ถ้าต่ำกว่า 12.8 โวลท์แสดงว่าไดชาร์จไม่ชาร์จกระแสไฟฟ้าให้กับแบตเตอริ่ และถ้าต่ำกว่า 12 โวลท์ ถือว่าขณะนั้นระบบไฟฟ้าในรถดึงกระแสไฟฟ้าแบตเตอรี่มาใช้งานเพียงอย่างเดียว ให้ทำการตรวจซ่อมไดชาร์จ
2. ที่รอบเครื่องยนต์ 2000-2500 รอบต่อนาที จะต้องมีค่าประมาณ 13.8-14.7 โวลท์ อาจมากกว่านี้ได้เล็กน้อยแต่ต้องไม่เกิน 15 โวลท์ถ้ามากกว่า 15 โวลท์อาจมีสาเหตุมาจากเรกกูเตอร์ (วงจรควบคุมแรงดันของไดชาร์จ) อาจมีปัญหา ผลเสียคือแบตเตอรี่อาจเสื่อมเร็วเพราะถูกชาร์จด้วยแรงดันที่สูงเกิน ทำให้เกิดความร้อนสูงในแบตฯ ถ้าร้อนมากๆจะทำให้น้ำกลั่นเดือดได้
วิธีทดสอบว่าไดชาร์จจ่ายกระแสเพียงพอหรือไม่ สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้ ทำตามข้อ 1 และ 2 แล้วทำการเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถทุกอย่าง เช่น ไฟหน้า,แอร์,ที่ปัดน้ำฝน,เครื่องเสียง ฯลฯ แรงดันที่วัดได้ต้องเหมือนกับค่าปกติในข้อ 1 และ 2 ถ้าค่าที่วัดได้ตกลงมาก แสดงว่าไดชาร์จจ่ายกระแสไม่พอ อาการนี้อาจไม่เกิดขึ้นกับรถเดิมๆ แต่จะมีผลในรถที่ติดตั้งเครื่องเสียงแรงๆ ผลเสียคืออาจทำให้ไดชาร์จทำงานตลอดเวลาทำให้อายุการใช้งานต่ำลง
3. แวคคั่ม มิเตอร์ (VACUUM METER)
Defi Advance Vacuum วัดสถานะเครื่องยนต์
มาตรวัด VACUUM ตัวนี้ จริง ๆ แล้วมันก็อยู่ในมาตรวัดตัวเดียวกับมาตรวัดอัตราบูสต์เทอร์โบ มาตรวัดตัวนี้จะตอบสนองกับอัตราการเหยียบคันเร่ง โดยเข็มจะกวาดไปมาตามการเร่ง ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการเช็คความสิ้นเปลืองน้ำมันได้เหมือนกัน สำหรับการดูค่าของมาตรวัดตัวนี้ต้องดูเวลาเครื่องเดินเบา ซึ่งจะดูได้จากค่าสูญญากาศ ถ้าค่าสูญญากาศนี้มีมาก ก็จะถือได้ว่าเครื่องยังคงมีสภาพที่สมบูรณ์ ไม่รั่วซึม แต่ถ้าค่านี้ลดลงไปมาก นั่นก็เป็นไปในทางตรงกันข้าม มาตรวัดตัวนี้จึงเป็นมาตรวัดที่อาจมีไว้เช็คสภาพของเครื่องยนต์ได้ ทั้งนี้ในขณะเครื่องยนต์เดินเบาถ้าเข็มบนมาตรวัดนี้บอกค่าไม่ถึง 30 cmHg นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าเครื่องยนต์มีสภาพย่ำแย่ โดยเครื่องยนต์ใหม่ ๆ ที่มีความสมบูรณ์ค่าตัวนี้จะอยู่ที่ประมาณ 45 cmHg
vacuum คือแรงดูด
boost คือแรงอัด
เวลาถอนคันเร่ง ค่าแวค จะยิ่งสูง เวลาเหยียบคันเร่งค่าแวคจะลดลงเข้าใกล้ 0
รถ turbo ก็เหมือนกัน เพียงแต่ถ้าปริมาณอากาศเพิ่มมากจนกลายเป็นแรงอัด ก็จะกลายเป็นบูสแทน
สรุป รถ turbo-na เหยียบหรือถอนคันเร่ง เข็มวัดแวค จะไปในทิศทางเดียวกัน
เพียงแต่ รถ NA จะไม่มีค่าแรงดันบูส ค่าที่เกจแสดงจะไม่เลยขึ้นไปถึงช่วงบูส
1 centimeter of mercury (cmHg) = 1.33 kilopascal (kPa)
1 inch of mercury (inHg) = 3.39 kilopascal (kPa)
cmHg (เซนติเมตรปรอท) และ inHg (นิ้วปรอท)
30 cmHg = 39 kPa
45 cmHg = 59 kPa
1 Bar = 100 kPa = 14.5037738 PSI
4. มาตรวัดส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง (A/F METER)
Defi Advance A/F (Air/Fuel ratio) วัดส่วนผสมน้ำมันกับอากาศ
มาตรวัดตัวนี้เป็นการเช็คความสมดุลระหว่างอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับ A/F คืออัตราส่วนระหว่างอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งโดยทั่วไปอัตราส่วนตามหลักการนี้จะต้องมีค่าเท่ากับ 14 ในขณะที่เครื่องเดินเบา เลข 14 ก็จะหมายถึงอากาศ 14 ส่วน/น้ำมัน 1 ส่วน ซึ่งจะผสมอยู่ในห้องเผาไหม้สำหรับจุดระเบิด และค่านี้จะต่ำลงไปในขณะที่มีการเร่งเนื่องจากปริมาณน้ำมันเพิ่มขึ้น และค่า A/F นี้จะสูงขึ้นในขณะที่ทำการถอนคันเร่ง โดยค่า A/F นี้จะถูกแบ่งออกเป็น "บาง" กับ "หนา" ซึ่งถ้าต้องการทำให้รถแรงขึ้น ก็ต้องปรับให้ค่า A/F ให้มีค่าที่บางลง คือการปรับให้น้ำมันน้อยลง-อากาศมากขึ้น อย่างไรก็ตามการปรับในลักษณะดังกล่าว ก็มีผลทำให้อุณหภูมิในห้องเผาไหม้สูงขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องมีการปรับอย่างระมัดระวัง ทั้งนี้ค่า A/F ไม่ควรสูงเกินกว่า 12 เพราะนั่นหมายความว่าน้ำมันเชื้อเพลิงน้อยเกินไป ซึ่งในรถที่มีการโมดิฟาย ควรจะให้มีค่า A/F ขณะเร่งอยู่ในช่วง 10.5- 11.5 ก็พอ
เราต้องทราบกันก่อนว่า การสันดาบภายในห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์เบนซินนั้น จะต้องมีปัจจัยสำคัญหลักสามประการคือ
อากาศ Air + เชื้อเพลิง Fuel + ไฟ Ignition
และเพื่อให้ได้พลังงานความร้อนอยู่ในช่วงที่เหมาะสมที่สุด อัตราส่วนผสมระหว่างอากาศกับเชื้อเพลิง (Air/Fuel Ratio) ควรเท่ากับ A=14.7 ส่วน ต่อ F=1 ส่วน (A/F=14.7/1)
ซึ่งเมื่ออากาศถูกดูดเข้าห้องเผาไหม้ไปผสมกับเชื้อเพลิงในห้องเผาไหม้แล้ว หัวเทียนก็จะสปาร์คขึ้นในจังหวะที่ลูกสูบอัดขึ้นเกือบสูงสุด แล้วเกิดการระเบิดของก๊าซในห้องเผาไหม้ ดันลูกสูบลงไปขับข้อเหวี่ยง เพื่อหมุนแกนกลางชุดส่งกำลังขับเคลื่อนรถกันต่อไป
หากการเผาไหม้ให้พลังงานไม่ดี (Rich) เครื่องก็ไม่มีเรี่ยวแรงมีก๊าซเสีย และเขม่าที่หลงเหลือจากการเผาไหม้เยอะ
และหากเผาไหม้ดีเกินไป (Lean) อุณหภูมิของการเผาไหม้นั้นจะทำให้เครื่องยนต์ร้อนจัดจนโลหะขยายตัวเกินขีด และอาจหลอมละลายได้ในที่สุด
ลองนึกถึงหัวตัดเชื่อมแก๊สที่เราเห็นตามร้านทำท่อรถยนต์ ว่าหากเขาบิดวาวล์อ๊อกซิเจนน้อย ก็จะมีควันดำที่เปลวไฟ ใช้ตัดโลหะไม่ได้แค่ทำให้อุ่นและทิ้งเขม่าไว้เพียบ
ในทางตรงข้าม หากเปิดวาวล์อ๊อกซิเจนเพิ่มขึ้น เปลวไฟจะร้อนแรงกว่าเดิม จี้ไปที่อะไรก็หลอมละลายหมดแม้แต่เหล็กแผ่นหนาๆ ก็ไม่เหลือ เครื่องยนต์ก็โดนแบบนั้นเหมือนกันครับ ท่านที่จูนแก๊สบางๆ หวังแต่ความประหยัด ระวังไว้เถอะ
5. มาตรวัดอุณหภูมิน้ำมันเครื่อง (OIL TEMP METER)
Defi Advance Oil Temp วัดความร้อนน้ำมันเครื่อง
อุณหภูมิน้ำมันเครื่อง มีความสำคัญมากพอสมควร เพราะถือว่ามีผลกระทบกับเครื่องยนต์โดยตรง หากว่าอุณหภูมิของน้ำมันเครื่องสูงเกินไป เครื่องยนต์ก็ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้อุณหภูมิของน้ำมันเครื่องจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำมันเครื่องที่ใช้ ซึ่งในตลาดน้ำมันเครื่องแยกเป็นหลายประเภท มีทั้งแบบทนความร้อนสูงที่อุณหภูมิสูงถึง 120 องศาเซลเซียส ส่วนบางประเภทอุณหภูมิแค่ 110 องศาเซลเซียส ก็ทนไม่ไหวกลายสภาพเป็นน้ำก็มี โดยปกติของอุณหภูมิน้ำมันเครื่องจะสูง-ต่ำ ไปในแนวทางเดียวกับอุณหภูมิของเครื่องยนต์หรืออุณหภูมิหม้อน้ำ ซึ่งถ้าความร้อนของน้ำขึ้น อุณหภูมิของน้ำมันเครื่องก็จะขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ในสภาพการใช้งานเครื่องยนต์ควรรักษาอุณหภูมิของน้ำมันเครื่องให้อยู่ในช่วง 80-110 องศาเซลเซียส
ถ้าหากอุณหภูมิสูงขึ้นไปเกิน 120 องศาเซลเซียส ควรทำให้เย็นลงก่อนจึงใช้งานเครื่องยนต์ต่อไป สำหรับทางออกในการช่วยรักษาอุณหภูมิของน้ำมันเครื่อง รถยนต์ที่ผ่านการโมดิฟายมักมีการใส่ OIL COOLER เข้าไปช่วยก็ทำให้อุณหภูมิน้ำมันเครื่องไม่สูงเกินไป
6. มาตรวัดแรงดันน้ำมันเครื่อง (OIL PRESSURE METER)
Defi Advance Oil Pressure วัดแรงดันน้ำมันเครื่อง
มาตรวัดตัวนี้จะมีส่วนสำคัญในการแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของน้ำมันเครื่อง โดยค่าที่แสดงออกมาให้เห็นจะเป็นเวลาที่เครื่องยนต์ทำงานในรอบสูงๆ หรือขณะที่เครื่องยนต์มีอุณหภูมิในการทำงาน เพราะเมื่อน้ำมันเครื่องเจอเข้ากับความร้อนสูง ๆ จะถูกหลอมให้เหลวลง และถ้าน้ำมันเครื่องเหลวมากเท่าไหร่ ประสิทธิภาพความหล่อลื่นก็จะลดลง การสึกหรอจนถึงการระบายความร้อนก็จะลดประสิทธิภาพลงตามไปด้วย ดังนั้นการตรวจสอบตรงจุดนี้จึงมีความสำคัญ ซึ่งมาตรวัดแรงดันน้ำมันเครื่องจะเป็นตัวบ่งบอกข้อมูลนี้ได้ โดยในการแสดงข้อมูลให้เห็นนั้น หากว่ามีแรงดูดน้อย ที่เรียกว่า "แรงดันต่ำ" จะถือว่าการหล่อลื่นไม่ดี เพราะแสดงถึงว่าน้ำมันเครื่องเหลวมาก ใช้แรงดูดน้อยก็ไหลเข้ามาแล้ว ในทางกลับกัน ถ้าน้ำมันเครื่องมีความหนืดมาก แรงดูดก็ต้องใช้แรงมาก เรียกว่า "แรงดันสูง" จะสังเกตได้ว่าเวลาที่น้ำมันเครื่องยังคงเย็น มาตรวัดจะแสดงว่ามีแรงดันสูง แต่เมื่อความร้อนเพิ่มขึ้น น้ำมันเครื่องคลายความหนืดลง ความดันก็จะเริ่มต่ำลงมา สำหรับรถยนต์โดยทั่วไปในขณะวิ่ง แรงดันน้ำมันเครื่องควรอยู่ที่ประมาณ 3 - 4 kg/cm2 หรือหากสูงมากก็ไม่ควรจะเกิน 6 kg/cm2
1 kg/cm2 = 98 kPa
3 - 4 kg/cm2 = 294 - 392 kPa
6 kg/cm2 = 588 kPa
7. มาตรวัดบูสต์ (BOOST METER)
Defi Advance Boost/Turbo วัดบูสเทอร์โบ สำหรับรถเทอร์โบ
มาตรวัดตัวนี้จะเห็นในรถยนต์แทบทุกคันที่มีการติดตั้งเทอร์โบเข้าไป รวมถึงรถยนต์ที่มีเทอร์โบมาจากโรงงานก็อาจจะมีตัวนี้มาให้ เนื่องจากมันเป็นตัวบ่งบอกสำคัญให้ผู้ขับขี่ทราบว่า มีแรงดันอากาศ หรือแรงบูสต์เข้ามายังเครื่องยนต์มากน้อยเพียงไร มาตรวัดตัวนี้โดยปกติบนหน้าปัด จะมีค่าตัวเลขด้านล่างขึ้นมาที่ 0 ซึ่งเป็นค่าของแวคคั่ม หรือ แรงดันลบ และจาก 0 ขึ้นไป จะเป็นของเทอร์โบ หรือ แรงดันบวก และในส่วนของเทอร์โบนี่เองที่จะเป็นส่วนบ่งบอกว่า เทอร์โบ กำลังทำงานอยู่
สำหรับการดูค่าอัตราบูสต์เทอร์โบนั้น ถ้าหากว่าเข็มบนมาตรวัดเดินช้ามาก เป็นตัวแสดงให้เห็นอย่างหนึ่งว่า เทอร์โบมีขนาดใหญ่เกินไป ส่งผลให้ไอเสียที่ไปปั่นใบเทอร์โบไม่พอ การแก้ไขก็น่าจะเป็นการเปลี่ยนเป็นแคมฯ องศาสูง หรือไม่ก็เปลี่ยนจังหวะของวาล์วเป็นต้น นอกจากนี้หากบนมาตรวัดชี้ว่ามีแรงบูสต์สูงเกินไปจากที่มีการตั้งค่าเอาไว้ ก็อาจจะสรุปได้ว่าเกิดปัญหาขึ้นที่สปริงวาล์วของเวสต์เกต ที่เป็นตัวควบคุมแรงดันบูสต์ของเทอร์โบเป็นต้น สำหรับมาตรวัดอัตราการบูสต์นี้ อาจจะมีค่าการวัดไม่เหมือนกัน บางครั้งอาจบ่งบอกค่าการวัดเป็น Bar (บาร์) หรือว่า psi (ปอนด์) อีกทั้งค่าสูงสุดของมาตรวัดบูสต์ ก็ไม่เท่ากัน จึงควรเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับความต้องการ
1 Bar = 100 kPa = 14.5037738 PSI
8. มาตรวัดแรงดันเชื้อเพลิง (FUEL PRESSURE METER)
Defi Advance Fuel Pressure วัดแรงดันน้ำมันเบนซิน
สำหรับมาตรวัดตัวนี้ใช้เป็นตัวเช็คแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงว่า ในขณะที่เหยียบคันเร่งแล้วน้ำมันขึ้นมาตามปริมาณที่เราออกแรงกด ลงไปบนคันเร่งหรือไม่ สำหรับคนที่ใช้รถแบบปรกติหรือใช้บนถนนทั่วไป มาตรวัดตัวนี้คงจะไม่จำเป็น อย่างไรก็ดีหากว่า ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงหรือหัวฉีดเกิดมีปัญหาขึ้นมา มาตรวัดที่บอกค่าของแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง ก็สามารถเป็นตัวบอกความผิดปกติได้ วิธีดูมาตรวัดตัวนี้ จะใช้ดูค่าในขณะที่รถยนต์ติดเครื่องเดินเบาเป็นหลัก สำหรับรถยนต์ที่มีเทอร์โบติดตั้งอยู่ด้วยค่าของแรงดันนี้จะขึ้น ไปตามอัตราการบูสต์ เช่น ค่าที่วัดได้ในขณะเดินเบามีค่าเป็น 3 บาร์ แต่เมื่อเทอร์โบบูสต์ไป 1 บาร์ ค่าบนของมาตรวัดจะชี้ไปที่ 4 บาร์ ซึ่งหากว่าแรงดันนี้ตกลง นั่นหมายถึงว่าขนาดของปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงหรือหัวฉีดที่ใช้ไม่เพียงพอเสียแล้ว ดังนั้นมาตรวัดตัวนี้จึงมีความจำเป็นไม่น้อยสำหรับรถยนต์เทอร์โบ ซึ่งผู้ขับขี่ความสังเกตค่าแรงดันในขณะที่เดินเบาเป็นหลัก และสังเกตว่าแรงดันน้ำมัน นั้นขึ้นไปตามอัตราการบูสต์หรือไม่
1 bar = 100 kPa
9. มาตรวัดอุณหภูมิท่อไอเสีย (EX. TEMP METER)
Defi Advance Exhaust Temp วัดอุณหภูมิท่อไอเสีย
อุณหภูมิของท่อไอเสีย หลายคนอาจจะมองว่าไม่น่าจะเกี่ยวกับประสิทธิภาพ การทำงานของเครื่องยนต์ ทว่าในความเป็นจริงมันมีส่วนที่สัมพันธ์กับแรงดันน้ำมัน หรือการไหลของอากาศสำหรับรถที่ผ่านการโมดิฟาย นอกจากน้ำมันเครื่องแล้ว ยังมีอีกเรื่องที่สำคัญ ก็คือ ปริมาณการจ่ายน้ำมันเบนซิน ซึ่งปริมาณน้ำมันเบนซินจะมากจะน้อย ก็สามารถวัดได้จากมาตรวัดอุณหภูมิท่อไอเสียนี่เอง ซึ่งหากมีการปรับน้ำมันให้อ่อนลง จะทำให้อุณหภูมิของท่อไอเสียเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเป็นในทางตรงกันข้ามน้ำมันแก่ อุณหภูมิของท่อไอเสีย ก็จะต่ำลง ดังนั้นมาตรวัดอุณหภูมิไอเสีย จึงสามารถบอกข้อมูลของรถในขณะวิ่งได้ อย่างไรก็ตามโดยทั่วไป มาตรวัดอากาศไหลเข้า หรือว่ามาตรวัดแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง ก็ใช้บอกข้อมูลในทางเดียวกัน
ขอขอบคุณข้อมุลดีๆ จาก miagine.
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ลองอ่านดูแล้วสนใจอยากจะติด เข้ามาดูได้ที่เว็ป มีให้ดูมากมาย
http://www.Jf-autoshop.com
จันทร์ - อาทิตย์ 09:00 - 22:00 TEL. 085-842-6173 หรือ 080-932-2097
สอบถามข้อมูลหรือมีคำถาม โทรติดต่อดีกว่าครับ ไม่ค่อยได้เช็กกระทู้ครับผม
รายละเอียด, คุณสมบัติ, การใช้งาน และ รูปของสินค้า อยู่ด้านล่างครับผม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เกจ Defi C2 รุ่นใหม่ล่าสุด หน้ามืด จอเรียบ สว่างกว่าเดิม ปรับความสว่างของหน้าเกจได้
ขนาดของเกจวัด 60MM (2.5 inch)
http://youtu.be/uFRACTnDWLE
ดูรายละเอียดเพิมเติมได้นี้ลิ้งนี้คับ http://www.jf-autoshop.com/index.php?mo=28&id=1196441
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เกจ Defi C2 รุ่นใหม่ล่าสุด หน้ามืด จอเรียบ สว่างกว่าเดิม
เกจวัดต่างๆในรถยนต์ มีหน้าที่อย่างไร นอกจากเท่ห์แล้ว
ข้อมูลทั้งหมดที่จะนำเสนอในครั้งนี้ ประกอบด้วย 9 มาตรวัด ค่าต่างๆเกี่ยวกับรถยนต์ โดยมีข้อมูลดังต่อไปนี้
1. มาตรวัดอุณหภูมิเครื่องยนต์ (WATER TEMP METER)
Defi Advance Water Temp วัดความร้อนหม้อน้ำ
สำหรับมาตรวัดความร้อนตามปกติในรถธรรมดาทั่วไป ก็จะมีติดตั้งมาให้เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว
แต่ว่ารถยนต์ทั่วไปนั้นอาจไม่ได้อ่อนไหวในเรื่องของความร้อนมากนัก ค่าแสดงให้เห็นจึงไม่ละเอียด ทั้งนี้เป็นเพราะทางโรงงานตั้งใจทำมาอย่างนั้น เพื่อคนขับจะได้ไม่ต้องเป็นห่วงมาก แต่ว่าเมื่อไหร่ที่เกจความร้อนขยับสูงขึ้น หรือไฟแสดงผลแสดงสำหรับรถรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ติดตั้งเกจวัดความร้อนมาให้จากโรงงาน นั่นหมายความว่าความร้อนขึ้นค่อนข้างมาก หากทิ้งไว้นานอาจไม่ทันการเครื่องยนต์อาจเสียหายก่อนได้ โดยเฉพาะรถยนต์ที่ติดแก๊ส หรือใช้เครื่องยนต์เทอร์โบและมีการโมดิฟาย หรือปรับบูสต์ เครื่องยนต์จะร้อนกว่าปกติ เรื่องปัญหาความร้อนมีความสำคัญมาก เพราะอาจหมายถึงความเสียหายที่เกิดกับเครื่องยนต์ได้ เช่นเครื่องน๊อค หรือฝาสูบโก่งเพราะความร้อนเกิน โดยปกติเซ็นเซอร์ที่ใช้วัดความร้อนของเครื่องยนต์จะติดตั้งอยู่ตรงท่อน้ำที่ออกจากเครื่อง ซึ่งอุณหภูมิโดยปกติที่เครื่องยนต์ทำงานควรจะอยู่ที่ราว 90-100 องศาเซลเซียส และควรควบคุมไม่ให้สูงขึ้นเกินไปกว่า 120 องศาเซลเซียส หากว่าอุณหภูมิยังสูงขึ้นก็พอมีวิธีแก้ไขคือ เพิ่มขนาดของหม้อน้ำให้ใหญ่ขึ้น เปิดกันชนหน้าให้ลมผ่านเข้าหม้อน้ำได้ง่ายขึ้น หรือไม่ก็เจาะสคูปดักลมบนฝากระโปรงหน้า ให้ลมเข้ามาเป่าห้องเครื่อง วิธีการเหล่านี้พอจะสามารถทำให้เครื่องยนต์เย็นได้บ้างเหมือนกัน
2. โวลท์ มิเตอร์ (VOLT METER)
Defi Advance Volts วัดกระแสไฟ
ใช้วัดพลังงานแบตเตอรี่รถยนต์ว่าเหลือเท่าไหร่ เหมาะกับรถที่ติดเครื่องเสียง หรือรถยนต์ทั่วไปเพื่อบอกสถานะไฟแบต ทำให้ไม่ต้องเสี่ยงที่จะต้องเข็นรถเนื่องจากสตาร์ทไม่ติด เนื่องจาก แบตเตอรี่สมัยนี้มักไม่ค่อยทนและไม่บอกพลังไฟที่เหลือ พอไฟหมดก็สตาร์ทไม่ติดเลย ตัวมิเตอร์สามารถช่วยบอกสถานะได้เป็นอย่างดี ใช้เพื่อเช็คดูประสิทธิภาพและกำลังไฟของแบตเตอรี่เพื่อไม่ให้ เกิดปัญหาในการใช้งาน หรือสตาร์ทไม่ติด
วิเคราะห์ระบบไฟฟ้าในรถจากค่าที่อ่านได้จากโวลท์มิเตอร์
- ขณะดับเครื่องค่าควรอยู่ประมาณ 12-12.8 โวลท์ ถ้าต่ำกว่า12 ถือว่าผิดปกติอาจมีสาเหตุมาจากแบตเตอรี่เริ่มเสื่อม (เก็บไฟไม่อยู่) หรือไดชาร์จชาร์จไฟได้ไม่เต็มที่ (ดูในหัวข้อการตรวจสอบไดชาร์จ)
- วิธีตรวจสอบว่าแบตเสื่อมหรือไม่ทดสอบได้โดยหลังจากขับรถปกติมาจอดและดับเครื่องประมาณ 1 นาที ค่าที่อ่านจากมิเตอร์ต้องมีค่าระหว่าง 12-12.8 โวลท์ หลังจอดไว้ (4-6ชั่วโมง) หรือข้ามวันค่าที่อ่านได้ต้องประมาณ 12-12.8 โวลท์ เท่าเดิมถือว่าปกติ ถ้ามีค่าต่ำกว่านี้มากๆ เช่น 11.5-11.9 แบตเตรี่เริ่มเก็บไฟไม่อยู่แต่ยังพอไหว แต่ถ้าต่ำกว่า 11.5 โวลท์ลงไป ถือว่าอันตรายเพราะถ้าจอดทิ้งสัก 2 วันอาจสตาร์ทไม่ติด (ถ้าอายุแบตเตอรี่ยังใหม่ก็อาจจะเกิดจากมีกระแสไฟฟ้า รั่วลงกราวด์ แนะนำเข้าร้านให้ช่างไฟฟ้ารถยนต์ตรวจสอบครับ) ***อายุแบตเตอรี่ทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 18-24 เดือน แล้วแต่การดูแล***
การตรวจสอบไดชาร์จจากการอ่านค่าจากโวลท์มิเตอร์ ให้ทำการติดเครื่องยนต์แล้วอ่านค่าจากโวลท์มิเตอร์ค่าปกติได้ดังนี้
1. ที่รอบเครื่องยนต์ 1000 รอบต่อนาที (รอบเดินเบา) จะต้องมีค่าประมาณ 13.5-13.8 โวลท์ ถ้ามีค่าต่ำกว่านี้เช่น 12.8-13.4 โวลท์ไดชาร์จเริ่มมีปัญหาคือชาร์จไฟได้ไม่เต็มที่ ถ้าต่ำกว่า 12.8 โวลท์แสดงว่าไดชาร์จไม่ชาร์จกระแสไฟฟ้าให้กับแบตเตอริ่ และถ้าต่ำกว่า 12 โวลท์ ถือว่าขณะนั้นระบบไฟฟ้าในรถดึงกระแสไฟฟ้าแบตเตอรี่มาใช้งานเพียงอย่างเดียว ให้ทำการตรวจซ่อมไดชาร์จ
2. ที่รอบเครื่องยนต์ 2000-2500 รอบต่อนาที จะต้องมีค่าประมาณ 13.8-14.7 โวลท์ อาจมากกว่านี้ได้เล็กน้อยแต่ต้องไม่เกิน 15 โวลท์ถ้ามากกว่า 15 โวลท์อาจมีสาเหตุมาจากเรกกูเตอร์ (วงจรควบคุมแรงดันของไดชาร์จ) อาจมีปัญหา ผลเสียคือแบตเตอรี่อาจเสื่อมเร็วเพราะถูกชาร์จด้วยแรงดันที่สูงเกิน ทำให้เกิดความร้อนสูงในแบตฯ ถ้าร้อนมากๆจะทำให้น้ำกลั่นเดือดได้
วิธีทดสอบว่าไดชาร์จจ่ายกระแสเพียงพอหรือไม่ สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้ ทำตามข้อ 1 และ 2 แล้วทำการเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถทุกอย่าง เช่น ไฟหน้า,แอร์,ที่ปัดน้ำฝน,เครื่องเสียง ฯลฯ แรงดันที่วัดได้ต้องเหมือนกับค่าปกติในข้อ 1 และ 2 ถ้าค่าที่วัดได้ตกลงมาก แสดงว่าไดชาร์จจ่ายกระแสไม่พอ อาการนี้อาจไม่เกิดขึ้นกับรถเดิมๆ แต่จะมีผลในรถที่ติดตั้งเครื่องเสียงแรงๆ ผลเสียคืออาจทำให้ไดชาร์จทำงานตลอดเวลาทำให้อายุการใช้งานต่ำลง
3. แวคคั่ม มิเตอร์ (VACUUM METER)
Defi Advance Vacuum วัดสถานะเครื่องยนต์
มาตรวัด VACUUM ตัวนี้ จริง ๆ แล้วมันก็อยู่ในมาตรวัดตัวเดียวกับมาตรวัดอัตราบูสต์เทอร์โบ มาตรวัดตัวนี้จะตอบสนองกับอัตราการเหยียบคันเร่ง โดยเข็มจะกวาดไปมาตามการเร่ง ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการเช็คความสิ้นเปลืองน้ำมันได้เหมือนกัน สำหรับการดูค่าของมาตรวัดตัวนี้ต้องดูเวลาเครื่องเดินเบา ซึ่งจะดูได้จากค่าสูญญากาศ ถ้าค่าสูญญากาศนี้มีมาก ก็จะถือได้ว่าเครื่องยังคงมีสภาพที่สมบูรณ์ ไม่รั่วซึม แต่ถ้าค่านี้ลดลงไปมาก นั่นก็เป็นไปในทางตรงกันข้าม มาตรวัดตัวนี้จึงเป็นมาตรวัดที่อาจมีไว้เช็คสภาพของเครื่องยนต์ได้ ทั้งนี้ในขณะเครื่องยนต์เดินเบาถ้าเข็มบนมาตรวัดนี้บอกค่าไม่ถึง 30 cmHg นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าเครื่องยนต์มีสภาพย่ำแย่ โดยเครื่องยนต์ใหม่ ๆ ที่มีความสมบูรณ์ค่าตัวนี้จะอยู่ที่ประมาณ 45 cmHg
vacuum คือแรงดูด
boost คือแรงอัด
เวลาถอนคันเร่ง ค่าแวค จะยิ่งสูง เวลาเหยียบคันเร่งค่าแวคจะลดลงเข้าใกล้ 0
รถ turbo ก็เหมือนกัน เพียงแต่ถ้าปริมาณอากาศเพิ่มมากจนกลายเป็นแรงอัด ก็จะกลายเป็นบูสแทน
สรุป รถ turbo-na เหยียบหรือถอนคันเร่ง เข็มวัดแวค จะไปในทิศทางเดียวกัน
เพียงแต่ รถ NA จะไม่มีค่าแรงดันบูส ค่าที่เกจแสดงจะไม่เลยขึ้นไปถึงช่วงบูส
1 centimeter of mercury (cmHg) = 1.33 kilopascal (kPa)
1 inch of mercury (inHg) = 3.39 kilopascal (kPa)
cmHg (เซนติเมตรปรอท) และ inHg (นิ้วปรอท)
30 cmHg = 39 kPa
45 cmHg = 59 kPa
1 Bar = 100 kPa = 14.5037738 PSI
4. มาตรวัดส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง (A/F METER)
Defi Advance A/F (Air/Fuel ratio) วัดส่วนผสมน้ำมันกับอากาศ
มาตรวัดตัวนี้เป็นการเช็คความสมดุลระหว่างอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับ A/F คืออัตราส่วนระหว่างอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งโดยทั่วไปอัตราส่วนตามหลักการนี้จะต้องมีค่าเท่ากับ 14 ในขณะที่เครื่องเดินเบา เลข 14 ก็จะหมายถึงอากาศ 14 ส่วน/น้ำมัน 1 ส่วน ซึ่งจะผสมอยู่ในห้องเผาไหม้สำหรับจุดระเบิด และค่านี้จะต่ำลงไปในขณะที่มีการเร่งเนื่องจากปริมาณน้ำมันเพิ่มขึ้น และค่า A/F นี้จะสูงขึ้นในขณะที่ทำการถอนคันเร่ง โดยค่า A/F นี้จะถูกแบ่งออกเป็น "บาง" กับ "หนา" ซึ่งถ้าต้องการทำให้รถแรงขึ้น ก็ต้องปรับให้ค่า A/F ให้มีค่าที่บางลง คือการปรับให้น้ำมันน้อยลง-อากาศมากขึ้น อย่างไรก็ตามการปรับในลักษณะดังกล่าว ก็มีผลทำให้อุณหภูมิในห้องเผาไหม้สูงขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องมีการปรับอย่างระมัดระวัง ทั้งนี้ค่า A/F ไม่ควรสูงเกินกว่า 12 เพราะนั่นหมายความว่าน้ำมันเชื้อเพลิงน้อยเกินไป ซึ่งในรถที่มีการโมดิฟาย ควรจะให้มีค่า A/F ขณะเร่งอยู่ในช่วง 10.5- 11.5 ก็พอ
เราต้องทราบกันก่อนว่า การสันดาบภายในห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์เบนซินนั้น จะต้องมีปัจจัยสำคัญหลักสามประการคือ
อากาศ Air + เชื้อเพลิง Fuel + ไฟ Ignition
และเพื่อให้ได้พลังงานความร้อนอยู่ในช่วงที่เหมาะสมที่สุด อัตราส่วนผสมระหว่างอากาศกับเชื้อเพลิง (Air/Fuel Ratio) ควรเท่ากับ A=14.7 ส่วน ต่อ F=1 ส่วน (A/F=14.7/1)
ซึ่งเมื่ออากาศถูกดูดเข้าห้องเผาไหม้ไปผสมกับเชื้อเพลิงในห้องเผาไหม้แล้ว หัวเทียนก็จะสปาร์คขึ้นในจังหวะที่ลูกสูบอัดขึ้นเกือบสูงสุด แล้วเกิดการระเบิดของก๊าซในห้องเผาไหม้ ดันลูกสูบลงไปขับข้อเหวี่ยง เพื่อหมุนแกนกลางชุดส่งกำลังขับเคลื่อนรถกันต่อไป
หากการเผาไหม้ให้พลังงานไม่ดี (Rich) เครื่องก็ไม่มีเรี่ยวแรงมีก๊าซเสีย และเขม่าที่หลงเหลือจากการเผาไหม้เยอะ
และหากเผาไหม้ดีเกินไป (Lean) อุณหภูมิของการเผาไหม้นั้นจะทำให้เครื่องยนต์ร้อนจัดจนโลหะขยายตัวเกินขีด และอาจหลอมละลายได้ในที่สุด
ลองนึกถึงหัวตัดเชื่อมแก๊สที่เราเห็นตามร้านทำท่อรถยนต์ ว่าหากเขาบิดวาวล์อ๊อกซิเจนน้อย ก็จะมีควันดำที่เปลวไฟ ใช้ตัดโลหะไม่ได้แค่ทำให้อุ่นและทิ้งเขม่าไว้เพียบ
ในทางตรงข้าม หากเปิดวาวล์อ๊อกซิเจนเพิ่มขึ้น เปลวไฟจะร้อนแรงกว่าเดิม จี้ไปที่อะไรก็หลอมละลายหมดแม้แต่เหล็กแผ่นหนาๆ ก็ไม่เหลือ เครื่องยนต์ก็โดนแบบนั้นเหมือนกันครับ ท่านที่จูนแก๊สบางๆ หวังแต่ความประหยัด ระวังไว้เถอะ
5. มาตรวัดอุณหภูมิน้ำมันเครื่อง (OIL TEMP METER)
Defi Advance Oil Temp วัดความร้อนน้ำมันเครื่อง
อุณหภูมิน้ำมันเครื่อง มีความสำคัญมากพอสมควร เพราะถือว่ามีผลกระทบกับเครื่องยนต์โดยตรง หากว่าอุณหภูมิของน้ำมันเครื่องสูงเกินไป เครื่องยนต์ก็ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้อุณหภูมิของน้ำมันเครื่องจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำมันเครื่องที่ใช้ ซึ่งในตลาดน้ำมันเครื่องแยกเป็นหลายประเภท มีทั้งแบบทนความร้อนสูงที่อุณหภูมิสูงถึง 120 องศาเซลเซียส ส่วนบางประเภทอุณหภูมิแค่ 110 องศาเซลเซียส ก็ทนไม่ไหวกลายสภาพเป็นน้ำก็มี โดยปกติของอุณหภูมิน้ำมันเครื่องจะสูง-ต่ำ ไปในแนวทางเดียวกับอุณหภูมิของเครื่องยนต์หรืออุณหภูมิหม้อน้ำ ซึ่งถ้าความร้อนของน้ำขึ้น อุณหภูมิของน้ำมันเครื่องก็จะขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ในสภาพการใช้งานเครื่องยนต์ควรรักษาอุณหภูมิของน้ำมันเครื่องให้อยู่ในช่วง 80-110 องศาเซลเซียส
ถ้าหากอุณหภูมิสูงขึ้นไปเกิน 120 องศาเซลเซียส ควรทำให้เย็นลงก่อนจึงใช้งานเครื่องยนต์ต่อไป สำหรับทางออกในการช่วยรักษาอุณหภูมิของน้ำมันเครื่อง รถยนต์ที่ผ่านการโมดิฟายมักมีการใส่ OIL COOLER เข้าไปช่วยก็ทำให้อุณหภูมิน้ำมันเครื่องไม่สูงเกินไป
6. มาตรวัดแรงดันน้ำมันเครื่อง (OIL PRESSURE METER)
Defi Advance Oil Pressure วัดแรงดันน้ำมันเครื่อง
มาตรวัดตัวนี้จะมีส่วนสำคัญในการแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของน้ำมันเครื่อง โดยค่าที่แสดงออกมาให้เห็นจะเป็นเวลาที่เครื่องยนต์ทำงานในรอบสูงๆ หรือขณะที่เครื่องยนต์มีอุณหภูมิในการทำงาน เพราะเมื่อน้ำมันเครื่องเจอเข้ากับความร้อนสูง ๆ จะถูกหลอมให้เหลวลง และถ้าน้ำมันเครื่องเหลวมากเท่าไหร่ ประสิทธิภาพความหล่อลื่นก็จะลดลง การสึกหรอจนถึงการระบายความร้อนก็จะลดประสิทธิภาพลงตามไปด้วย ดังนั้นการตรวจสอบตรงจุดนี้จึงมีความสำคัญ ซึ่งมาตรวัดแรงดันน้ำมันเครื่องจะเป็นตัวบ่งบอกข้อมูลนี้ได้ โดยในการแสดงข้อมูลให้เห็นนั้น หากว่ามีแรงดูดน้อย ที่เรียกว่า "แรงดันต่ำ" จะถือว่าการหล่อลื่นไม่ดี เพราะแสดงถึงว่าน้ำมันเครื่องเหลวมาก ใช้แรงดูดน้อยก็ไหลเข้ามาแล้ว ในทางกลับกัน ถ้าน้ำมันเครื่องมีความหนืดมาก แรงดูดก็ต้องใช้แรงมาก เรียกว่า "แรงดันสูง" จะสังเกตได้ว่าเวลาที่น้ำมันเครื่องยังคงเย็น มาตรวัดจะแสดงว่ามีแรงดันสูง แต่เมื่อความร้อนเพิ่มขึ้น น้ำมันเครื่องคลายความหนืดลง ความดันก็จะเริ่มต่ำลงมา สำหรับรถยนต์โดยทั่วไปในขณะวิ่ง แรงดันน้ำมันเครื่องควรอยู่ที่ประมาณ 3 - 4 kg/cm2 หรือหากสูงมากก็ไม่ควรจะเกิน 6 kg/cm2
1 kg/cm2 = 98 kPa
3 - 4 kg/cm2 = 294 - 392 kPa
6 kg/cm2 = 588 kPa
7. มาตรวัดบูสต์ (BOOST METER)
Defi Advance Boost/Turbo วัดบูสเทอร์โบ สำหรับรถเทอร์โบ
มาตรวัดตัวนี้จะเห็นในรถยนต์แทบทุกคันที่มีการติดตั้งเทอร์โบเข้าไป รวมถึงรถยนต์ที่มีเทอร์โบมาจากโรงงานก็อาจจะมีตัวนี้มาให้ เนื่องจากมันเป็นตัวบ่งบอกสำคัญให้ผู้ขับขี่ทราบว่า มีแรงดันอากาศ หรือแรงบูสต์เข้ามายังเครื่องยนต์มากน้อยเพียงไร มาตรวัดตัวนี้โดยปกติบนหน้าปัด จะมีค่าตัวเลขด้านล่างขึ้นมาที่ 0 ซึ่งเป็นค่าของแวคคั่ม หรือ แรงดันลบ และจาก 0 ขึ้นไป จะเป็นของเทอร์โบ หรือ แรงดันบวก และในส่วนของเทอร์โบนี่เองที่จะเป็นส่วนบ่งบอกว่า เทอร์โบ กำลังทำงานอยู่
สำหรับการดูค่าอัตราบูสต์เทอร์โบนั้น ถ้าหากว่าเข็มบนมาตรวัดเดินช้ามาก เป็นตัวแสดงให้เห็นอย่างหนึ่งว่า เทอร์โบมีขนาดใหญ่เกินไป ส่งผลให้ไอเสียที่ไปปั่นใบเทอร์โบไม่พอ การแก้ไขก็น่าจะเป็นการเปลี่ยนเป็นแคมฯ องศาสูง หรือไม่ก็เปลี่ยนจังหวะของวาล์วเป็นต้น นอกจากนี้หากบนมาตรวัดชี้ว่ามีแรงบูสต์สูงเกินไปจากที่มีการตั้งค่าเอาไว้ ก็อาจจะสรุปได้ว่าเกิดปัญหาขึ้นที่สปริงวาล์วของเวสต์เกต ที่เป็นตัวควบคุมแรงดันบูสต์ของเทอร์โบเป็นต้น สำหรับมาตรวัดอัตราการบูสต์นี้ อาจจะมีค่าการวัดไม่เหมือนกัน บางครั้งอาจบ่งบอกค่าการวัดเป็น Bar (บาร์) หรือว่า psi (ปอนด์) อีกทั้งค่าสูงสุดของมาตรวัดบูสต์ ก็ไม่เท่ากัน จึงควรเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับความต้องการ
1 Bar = 100 kPa = 14.5037738 PSI
8. มาตรวัดแรงดันเชื้อเพลิง (FUEL PRESSURE METER)
Defi Advance Fuel Pressure วัดแรงดันน้ำมันเบนซิน
สำหรับมาตรวัดตัวนี้ใช้เป็นตัวเช็คแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงว่า ในขณะที่เหยียบคันเร่งแล้วน้ำมันขึ้นมาตามปริมาณที่เราออกแรงกด ลงไปบนคันเร่งหรือไม่ สำหรับคนที่ใช้รถแบบปรกติหรือใช้บนถนนทั่วไป มาตรวัดตัวนี้คงจะไม่จำเป็น อย่างไรก็ดีหากว่า ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงหรือหัวฉีดเกิดมีปัญหาขึ้นมา มาตรวัดที่บอกค่าของแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง ก็สามารถเป็นตัวบอกความผิดปกติได้ วิธีดูมาตรวัดตัวนี้ จะใช้ดูค่าในขณะที่รถยนต์ติดเครื่องเดินเบาเป็นหลัก สำหรับรถยนต์ที่มีเทอร์โบติดตั้งอยู่ด้วยค่าของแรงดันนี้จะขึ้น ไปตามอัตราการบูสต์ เช่น ค่าที่วัดได้ในขณะเดินเบามีค่าเป็น 3 บาร์ แต่เมื่อเทอร์โบบูสต์ไป 1 บาร์ ค่าบนของมาตรวัดจะชี้ไปที่ 4 บาร์ ซึ่งหากว่าแรงดันนี้ตกลง นั่นหมายถึงว่าขนาดของปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงหรือหัวฉีดที่ใช้ไม่เพียงพอเสียแล้ว ดังนั้นมาตรวัดตัวนี้จึงมีความจำเป็นไม่น้อยสำหรับรถยนต์เทอร์โบ ซึ่งผู้ขับขี่ความสังเกตค่าแรงดันในขณะที่เดินเบาเป็นหลัก และสังเกตว่าแรงดันน้ำมัน นั้นขึ้นไปตามอัตราการบูสต์หรือไม่
1 bar = 100 kPa
9. มาตรวัดอุณหภูมิท่อไอเสีย (EX. TEMP METER)
Defi Advance Exhaust Temp วัดอุณหภูมิท่อไอเสีย
อุณหภูมิของท่อไอเสีย หลายคนอาจจะมองว่าไม่น่าจะเกี่ยวกับประสิทธิภาพ การทำงานของเครื่องยนต์ ทว่าในความเป็นจริงมันมีส่วนที่สัมพันธ์กับแรงดันน้ำมัน หรือการไหลของอากาศสำหรับรถที่ผ่านการโมดิฟาย นอกจากน้ำมันเครื่องแล้ว ยังมีอีกเรื่องที่สำคัญ ก็คือ ปริมาณการจ่ายน้ำมันเบนซิน ซึ่งปริมาณน้ำมันเบนซินจะมากจะน้อย ก็สามารถวัดได้จากมาตรวัดอุณหภูมิท่อไอเสียนี่เอง ซึ่งหากมีการปรับน้ำมันให้อ่อนลง จะทำให้อุณหภูมิของท่อไอเสียเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเป็นในทางตรงกันข้ามน้ำมันแก่ อุณหภูมิของท่อไอเสีย ก็จะต่ำลง ดังนั้นมาตรวัดอุณหภูมิไอเสีย จึงสามารถบอกข้อมูลของรถในขณะวิ่งได้ อย่างไรก็ตามโดยทั่วไป มาตรวัดอากาศไหลเข้า หรือว่ามาตรวัดแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง ก็ใช้บอกข้อมูลในทางเดียวกัน
ขอขอบคุณข้อมุลดีๆ จาก miagine.
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ลองอ่านดูแล้วสนใจอยากจะติด เข้ามาดูได้ที่เว็ป มีให้ดูมากมาย
http://www.Jf-autoshop.com
จันทร์ - อาทิตย์ 09:00 - 22:00 TEL. 085-842-6173 หรือ 080-932-2097
สอบถามข้อมูลหรือมีคำถาม โทรติดต่อดีกว่าครับ ไม่ค่อยได้เช็กกระทู้ครับผม
รายละเอียด, คุณสมบัติ, การใช้งาน และ รูปของสินค้า อยู่ด้านล่างครับผม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เกจ Defi C2 รุ่นใหม่ล่าสุด หน้ามืด จอเรียบ สว่างกว่าเดิม ปรับความสว่างของหน้าเกจได้
ขนาดของเกจวัด 60MM (2.5 inch)
http://youtu.be/uFRACTnDWLE
ดูรายละเอียดเพิมเติมได้นี้ลิ้งนี้คับ http://www.jf-autoshop.com/index.php?mo=28&id=1196441
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เกจ Defi C2 รุ่นใหม่ล่าสุด หน้ามืด จอเรียบ สว่างกว่าเดิม
แก้ไขล่าสุด: