• สวัสดีครับชาวโลมาสีฟ้า cefiro-thailand.com

    เว็บไซต์แห่งนี้เราเปิดให้ใช้งานกับฟรีๆ สามารถโพสต์อัพเดทสถานการณ์ต่างๆข่าวสารบ้านเมืองและข่าวสารของกลุ่ม cefiro-thailand.com ได้เต็มที่เลยนะครับขอแค่ไม่เป็นการปั่นกระทู้หรือโฆษณาอะไรที่มันล่อแหลมจนเกินไป
    เว็บไซต์ไม่ต้องเสียค่าสมัครใดใดทั้งสิ้นมีข้อเสนอแนะอะไรสามารถแนะนำเข้ามาได้ครับยินดีปรับแต่งและแก้ไขถ้าสามารถทำได้

    กฎระเบียบของเราก็ไม่มีอะไรมากท่านสามารถใช้งานได้เต็มที่

อยากทราบวิธีเช็คเฟืองท้ายว่าเต็ดจับกี่ %

  • ผู้เริ่มหัวข้อ ผู้เริ่มหัวข้อ A311294
  • วันที่เริ่มต้น วันที่เริ่มต้น

กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see

A311294

สมาชิกชมรมเซฟิโร่-ไทยแลนด์
Cefiro-Thailand Members
เข้าร่วม
7 พฤษภาคม 2007
ข้อความ
56
  • กระทู้ ผู้เขียน
  • #1
อยากทราบวิธีเช็คเฟืองท้ายว่าเต็ดจับกี่ %

แบบที่มีคนขายเขาบอกว่าเต็ด 80% เราจะสามารถเช็คได้อย่างไรคับ
 


ความหมายของ Differential
ก่อนที่จะเข้าใจเรื่อง LSD ต้องเข้าใจถึงระบบส่งถ่ายกำลังก่อน ซึ่งในที่นี้ขอไม่พูดถึงเกียร์ และคำแรกที่อยากให้รู้จักก่อน คือ
Differential หมายถึง เฟืองท้ายหน้าที่ของเฟืองท้ายก็เพื่อถ่ายทอดกำลังจากเกียร์มาสู่ล้อโดยการ ถ่ายทอดมานั้นจะลดความเร็วของการหมุนของเกียร์ลง เพื่อเพิ่มทอร์คในการไปปั่นล้อนั้นหมายความว่า ยิ่งใช้รอบของเกียร์มากรอบเท่าไหร่ในการหมุนล้อให้ได้ 1 รอบจะยิ่งมีทอร์คมากตามไปด้วย

เช่น เฟืองท้าย 4.1 หมายความว่า เพลาเกียร์หมุน 4.1 รอบเพลาล้อหมุนได้ 1 รอบ ซึ่งจะได้ ทอร์คมากกว่า เฟืองท้าย 3.7

สำหรับ ที่มาของคำว่า Differential นั้นมาจากหน้าที่ของมัน คือ ทำให้ล้อหมุนที่ความเร็วต่างจากเพลากลางจากเกียร์ และ Diffrential ไม่ได้หมายถึงแค่เฟืองของรถขับหลังอย่างเดียว แต่หมายถึงเฟืองสุดท้ายในเกียร์ของขับหน้าก่อนที่จะถ่ายทอดกำลังไปที่เพลา ด้วย

ของรถขับหลัง Drive Shaft คือเพลากลาง ส่วนสีเขียว Transmission คือ เกียร์ ขับหน้านั้นตัว Differential จะอยู่เชี่อมอยู่ระหว่างเกียร์กับเพลาขับ สำหรับขับ 4 จะมี Differential ไว้คอยเปลี่ยนความเร็วในการหมุนอยู่ 3 จุดโดย Center Diff นั้นจะมีหน้าที่ควบคุมการหมุนของล้อหน้ากับล้อหลังเนื่องจากตอนเลี้ยวล้อ หน้าจะเคลื่อนที่ได้ระยะทางมากกว่าล้อหลัง แต่ขับ 4 นั้นก็จะมีทั้ง FULL-TIME(ขับเคลื่อน 4 ล้อตลอดเวลา) และ PART-TIME(ขับเคลื่อน 4 ล้อเฉพาะตอนที่จำเป็น)

ชนิดของ Differential
หัวข้อถัดไปจะกล่าวถึงชนิดของ Differential จะเริ่มจากชนิดพื้นฐานก่อนเลยที่เรียกว่า
1. Open Type Differential
สำหรับ Open Type นั้นเป็น Differential พื้นฐานและทำงานง่าย คือ พยายามให้ล้อเวลาเลี้ยวมีความเร็วต่างกันจะได้เลี้ยวได้อย่างไม่มีปัญหา สำหรับ Differential ชนิดนี้ไม่เหมาะกับ Racing Car เนื่องจากมันยอมให้ความเร็วของเพลา 2 ข้างต่างกันเพื่อให้สามารถเข้าโค้งได้ไม่ติดขัด เืนื่องจากขณะเลี้ยวนั้นล้อด้านนอกโค้งจะต้องเคลื่อนที่ในระยะทางที่มากกว่า ล้อในโค้ง จึงต้องเคลื่อนที่เร็วกว่า
Open Type Differential หลักการคือ กระจายทอร์กให้เท่ากันทั้ง 2 ล้อ เพราะฉะนั้นความเร็วในการหมุนของแต่ละล้ออาจต่างกันในแต่ละสถานการณ์

ข้อ เสียของ Open Type Differential คือถ้าเกิดล้อทั้ง 2 ข้างอยู่บนพื้นที่ Traction ไม่เท่ากันเช่นพื้นถนนกับพื้นน้ำแข็ง ในทางตรงล้อที่อยู่บน Traction น้อย จะหมุนเร็วกว่าเนื่องจากแรงเสียดทานที่มาต้านการหมุนน้อย ลักษณะจะเหมือนอยู่ในโค้ง คือ มีล้อข้างนึงหมุนเร็วกว่าอีกข้าง ทำให้รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าไม่ค่อยได้เนื่องจากการทำงานของ Differential

2. Limited Slip Differential (LSD)
หรือในอีกชื่อที่ไม่ค่อย คุ้นนัก คือ Positraction สำหรับ Limited Slip นั้นจะมีหลักการทำงานต่างจาก Open Type Diff ตรงที่ Open Type นั้นจะพยายามทำให้เกิด Torque เท่าๆกันทั้ง 2 ล้อ แต่หลักการของ LSD คือพยายามทำให้ล้อทั้ง 2 ข้างหมุนเท่ากัน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขิ้นของ Open Type

LSD ก็ยังแบ่งออกเป็นอีกหลายประเภทดังนี้

2.1 Viscous LSD
นิยมใช้ในรถขับเคลื่อน 4 ล้ออยู่ระหว่างชุดล้อหน้ากับล้อหลัง และรถขับหลังตระกูล NISSAN ก็นิยมใช้ LSD ชนิดนี้

2.2 Locking
สำหรับ LSD ประเภทนี้นิยมใช้ในรถแข่ง Off Road คือจะใช้ไฟฟ้า, ระบบลม หรือไฮคราลิก โดยจะควบคุมโดย Switch เมื่อมีการ Active การทำงานล้อทั้ง 2 ข้างจะหมุนด้วยความเร็วเท่ากันเลยลักษณะคล้ายกับการเชื่อมเฟืองท้าย 2 ข้างเข้าด้วยกันเลย

2.3 Torsen LSD
ชื่อเต็มว่า Torque and Sensing LSD
จะ ทำงานเหมือน Open Type ถ้า Torque ที่ล้อทั้ง 2 เท่ากัน และถ้าเกิด Torque ที่ต่างกันจะทำให้เฟืองข้างในทำงานกระจาย Torque ไปที่ล้อที่มี Traction ดีกว่า โดยจะมี Torque bias ratio เป็นตัวกำหนดว่าสูงสุดที่จะให้ Torque ล้อนึงเป็นกี่เท่าของอีกล้อ สำหรับ LSD ชนิดนี้นิยมใช้ในรถ High Performance และดูเหมือนว่าจะดีกว่า Viscous เนื่องจากจะมีการส่งถ่าย Torque ไปยังล้อที่ยังปกติอยู่ก่อนเกิดการ Slip ซึ่ง Viscous ต้องเกิดการ Slip ก่อนถึงจะทำงาน
แต่ว่า Torsen ก็ยังมีข้อเสียอยู่ คือ ถ้าล้อเกิดการ Slip แล้ว Torsen จะไม่สามารถทำงานได้อย่างที่กำหนดไว้ เนื่องจากการออกแบบต้องกำหนด Torque bias ratio ที่มันสามารถทำได้นั้นเอง

2.4 Clutch Type
สำหรับ LSD ชนิดนี้จะเห็นว่า ตรงส่วนกลางจะเหมือน Open Type Diff แต่แค่มีแผ่น Clutch เพิ่มขึ้นมาที่ด้านท้ายทั้ง 2 ด้านซึ่งการทำงานจะง่ายมาก คือ ใช้ความฝืดของแผ่น Clutch ในการทำให้ล้อ 2 ล้อพยายามหมุนให้เท่ากัน ถ้าล้อ 2 ข้างมี Torque ที่ต่างกันมากๆ ก็พยายามเพิ่มแรงกดหรือเพิ่มจำนวนแผ่นหรือเพิ่มขนาดแผ่นเพื่อให้มันยัง สามารถทำให้ล้อ 2 ข้างหมุนที่ความเร็วเท่ากัน สำหรับ LSD ชนิดนี้จึงเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับสำนักแต่งต่างๆ เนื่องจากออกแบบง่ายและใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็น CUSCO KAAZ ATS TRD ต่างออกแบบ LSD ชนิดนี้เพื่อใช้ในรถที่ใช้สำหรับ แข่งขันต่างๆ

ความแตกต่างของ Clutch Type LSD แบบ 1, 1.5 or 2 Way

1 Way - ทำงานเฉพาะตอนเร่งเครื่องเท่านั้น
1.5 Way - ทำงานทั้งตอนเร่งเครื่อง และทำงานแค่ครึ่งเดียวตอนถอดคันเร่ง
2 Way - ทำงานตลอดทั้งเร่งเครื่องและถอนคันเร่ง

สำหรับ รูปนี้ต้องขอบคุณ Web Site Cusco ซึ่งเป็น Web Site เดียวที่เปิดเผยข้อมูล LSD ของตนอย่างชัดเจน จะเห็นว่าความแตกต่างในการออกแบบอยู่ที่ ช่องกลางที่แกนของเฟืองเข้าไปอยู่

จะเห็นว่าจังหวะที่เหยียบคันเร่งแกนเฟืองจะดันไปข้างหน้าเพื่อดันล้อให้หมุน
จังหวะ ที่ถอนคันเร่ง(และไม่เหยียบครัช) จะเกิด Engine Brake เฟืองในเฟืองท้ายจะพยายามหยุดล้อขับเคลื่อนทำให้แกนของเฟืองเกียร์ล่นถอยไป กดอยู่ได้หลังของวงตรงกลาง ถ้าออกแบบให้รู้ตรงกลางเป็นดังลักษณะ 1 WAY และหันด้านแกนของเฟืองตามรูป เวลาถอนคันเร่ง จะเห็นว่าจะไม่เกิดแรงไปดันให้ตัว LSD ทำงาน (ดันให้แผ่น Clutch กดกันแน่นขึ้น) ส่วน 1.5 Way จะออกแบบให้ดันแต่ไม่เต็มแรง และ 2 Way ดันแบบเต็มแรง

จะเห็นว่า LSD Clutch นั้นเราสามารถปรับได้ว่าจะให้เป็น 1, 1.5 หรือ 2 Way ได้โดยแค่ประกอบต่างกันเท่านั้น โดยผู้ผลิดจะออกแบบรูมาหลายแบบเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะใช้แบบไหน แต่ส่วนใหญ่แล้วก็จะปรับได้ 1.5 กับ 2 Way ขึ้นอยู่กับ Brand ว่า Brand นั้นออกแบบมาให้สามารถปรับเป็นกี่ Way ได้บ้าง ถ้าเข้าใจถึงการออกแบบเราก็สามารถใช้ LSD แบบ Clutch Type นี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

บทความนี้เขียนโดย นายโนช แห่ง สยามดริฟท์เตอร์
 
ขอเสริมนิดนึงนะครับ

LSD ที่เป็นของโรงงาน Nissan จะเป็น Viscous LSD (ยกเว้น GT-R และบางรุ่น)

จะทำงานโดยใช้น้ำมันในเฟืองท้ายไปสร้างแรงหมุนให้กับเพลาทั้ง 2 ด้านหมุนตามกัน ฉะนั้น มันใช้แรงดันน้ำมันเอา มันจึงไม่หนืดมาก ใช้งานปกติ แล้วซิ่งบ้างก็เลยโอ
(เวลาเลี้ยวจะง่าย ไม่ครึกๆเหมือน แบบครัช เพราะล้อมันจะพยายามหมุน 2 ข้างให้เท่ากัน ล้อนึงมันหมุนได้อีกล้อหมุนไม่ได้ พอมันหมุนไม่ได้ มันก็เลยมา slip ที่ผ้าครัชแทนก็เลยดัง ครึกๆๆๆ)

ส่วน LSD ซิ่งที่ใช้ๆกันมันเป็นแบบ Clutch Type (GT-R ก็ใช้แบบนี้นะ)

ก็จะเป็นผ้าครัชโลหะ ซ้อนกัน โดยเอาแรงบิดจาดเพลากลางมากดตัว ตัวกดผ้า ตัวนี้จะบีบผ้าให้แน่น ก็จะทำให้ทั้ง 2 ข้างหมุมนตามกัน

พูดถึงเรื่อง % การจับ มันไม่สามารถวัดได้ครับ.... ที่คุยกัน เต็ด 80% เต็ด 100% มั่วครับ!! เพราะ ต้องเราต้องพูดถึงเรื่องการทำงานของผ้าครัชและตัวกด ผ้าครัชกดกัน ยังไงมันก็มี โอกาศที่ slip ได้

แต่โอกาศที่จะ slip มันก็มาจากตัวผ้าครัช ที่สึกหลอเยอะมั้ย? และการทำงานของตัวกดเป็นแบบไหน... LSD ครัชไม่ทางจับ 100% ได้แน่นอน

ถ้าอยากได้ 100% ก็เอาของเดิมไปเชื่อมครับ ล๊อคแขนซ้ายกะขวาเข้าด้วยกันเลย ล้อซ้ายหมุนยังไง ล้อขวาอย่างงั้นเลย... เวลาเลี้ยวไม่ครึกๆขึ้นรถจากการ slip ของผ้าครัชเลย ทั้ง 2 ล้อหมุนเท่ากันเลย กินยางชิหาย 55+ กินเฟืองท้ายด้วยสึกหรอเร็วมาก..

LSD ซิ่งก็จะมีการทำงาน 2 แบบ Low Torque กับ High Torque

Low ก็ทำงานตั้งแต่แรงกดของตัวกดน้อยๆ... แบบนี้เหมาะกับรถ DRIFT จับแหลกไม่สนโลก ต้องการให้ 2 ล้อหลังหมุนเท่าๆกันตลอด ซึ่งที่ขายกันส่วนมากจะเป็นแบบนี้

High ก็ทำงานตอนที่แรงกดของตัวกดเยอะหน่อย แบบนี้ใช้งานได้สบายหน่อยไม่ค่อย ครึกๆเท่าไหร่ เหมาะกับ รถทั่วไปๆ Circuit Drag

เรื่อง Way การทำงานก็ตามพี่ลองเลย แล้วแต่การใช้งาน... ถ้าใช้งาน 1-1.5 ครับ 2 Way จะพาผมไปมิดหลายรอบแล้ว... ซัดๆมา ใช้ Engine brake ตูดออกซะงั้น ต้องมาแก้อาการรถ พร้อมกับเบรกรถอีก hell จิงๆ สรุปเหยียบครัชเบรก ตัดการทำงานของ LSD ไป - -"

จ้าาาาาาาาาาาาา
 
แก้ไขล่าสุด:
ขอเสริมนิดนึงนะครับ

LSD ที่เป็นของโรงงาน Nissan จะเป็น Viscous LSD (ยกเว้น GT-R และบางรุ่น)

จะทำงานโดยใช้น้ำมันในเฟืองท้ายไปสร้างแรงหมุนให้กับเพลาทั้ง 2 ด้านหมุนตามกัน ฉะนั้น มันใช้แรงดันน้ำมันเอา มันจึงไม่หนืดมาก ใช้งานปกติ (เวลาเลี้ยวจะง่าย) แล้วซิ่งบ้างก็เลยโอ

ส่วน LSD ซิ่งที่ใช้ๆกันมันเป็นแบบ Clutch Type (GT-R ก็ใช้แบบนี้นะ)

ก็จะเป็นผ้าครัชโลหะ ซ้อนกัน โดยเอาแรงบิดจาดเพลากลางมากดตัว ตัวกดผ้า ตัวนี้จะบีบผ้าให้แน่น ก็จะทำให้ทั้ง 2 ข้างหมุมนตามกัน

พูดถึงเรื่อง % การจับ มันไม่สามารถวัดได้ครับ.... ที่คุยกัน เต็ด 80% เต็ด 100% มั่วครับ!! เพราะ ต้องพูดถึงเรื่องการทำงานของผ้าครัชและตัวกด

LSD ซิ่งก็จะมีการทำงานแบบ Low Torque

ถูกครับคนไทยเรียกกันไปเอง ไอ้จับกี่ เปอร์เซ็น จิงๆมันควรจะเลือกที่การใช้งานมากกว่า 1.0 1.5 2.0 way ไม่ใช่เป็นเปอร์เซ็น
 
แล้วข้อควรระวังของการใช้ LSD Cusco ขับในชีวิตประจำวันล่ะครับ ต้องระวังอะไรบ้าง
 
แล้วข้อควรระวังของการใช้ LSD Cusco ขับในชีวิตประจำวันล่ะครับ ต้องระวังอะไรบ้าง

อยากรู้ด้วยคนคับ

ต้องมีสติ+ไม่ประมาท คับ

ยังไงรอเซียนๆมาตอบแล้วกันว่าแต่ ใช้ cusco ตัวไหนอยู่ล่ะคับพี่ๆเค้าจะได้มาตอบถูก อิอิ
:coolly-0022:
 
ต้องมีสติ+ไม่ประมาท คับ

ยังไงรอเซียนๆมาตอบแล้วกันว่าแต่ ใช้ cusco ตัวไหนอยู่ล่ะคับพี่ๆเค้าจะได้มาตอบถูก อิอิ
:coolly-0022:

เอาแบบที่นิยมใช้กันดีมั้ยคับ เช่น KAAZZ NISMO CUSCO TOMEI OS รบกวนเรื่องน้ำมันเฟืองท้ายด้วยคับว่าต้องใช้เบอร์ไหนยี้ห้อไหน เพราะไม่แน่ใจว่า แต่ละยี้ห้อหรือแต่ละรุ่นมันใช้น้ำมันแตกต่างกันอ่ะคับ รบกวนผู้รู้ด้วยนะคับ
 

กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see
กลับ
ยอดนิยม