• สวัสดีครับชาวโลมาสีฟ้า cefiro-thailand.com

    เว็บไซต์แห่งนี้เราเปิดให้ใช้งานกับฟรีๆ สามารถโพสต์อัพเดทสถานการณ์ต่างๆข่าวสารบ้านเมืองและข่าวสารของกลุ่ม cefiro-thailand.com ได้เต็มที่เลยนะครับขอแค่ไม่เป็นการปั่นกระทู้หรือโฆษณาอะไรที่มันล่อแหลมจนเกินไป
    เว็บไซต์ไม่ต้องเสียค่าสมัครใดใดทั้งสิ้นมีข้อเสนอแนะอะไรสามารถแนะนำเข้ามาได้ครับยินดีปรับแต่งและแก้ไขถ้าสามารถทำได้

    กฎระเบียบของเราก็ไม่มีอะไรมากท่านสามารถใช้งานได้เต็มที่

(จะกำไรมากไปแล้วนะlpgนี่) ที่มาของแก๊ส Lpg และราคา Lpg

  • ผู้เริ่มหัวข้อ ผู้เริ่มหัวข้อ A31508
  • วันที่เริ่มต้น วันที่เริ่มต้น

กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see

A31508

พยามจะเป็นvip ให้เต็มตัว
Cefiro-Thailand Members
เข้าร่วม
17 ก.พ. 2007
ข้อความ
3,442
  • กระทู้ ผู้เขียน
  • #1
บทความเกี่ยวกับโครงสร้างที่มาของแก๊ส LPG และราคา LPG
emo58.gif
ฟังแล้วเหมือนถูกเอาเปรียบอยู่เลย
เรื่องราคาก๊าซครับผม.....ไปอ่านเจอมาครับ....
โดย
อ.วีระชัย ถาวรทนต์
[email protected]
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

มีคำถามมากมายในกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์มีนโยบายที่จะลดราคาก๊าซหุงต้มว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน หรือเป็นเพียงนโยบายในการหาเสียงแบบประชานิยมเลียนแบบพรรคไทยรักไทย

ก่อนอื่นต้องขออนุญาตย้อนไปในสมัยที่ยังทำงานในฐานะอนุกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร ได้เคยให้ความเห็นต่อผู้แทนของกระทรวงพลังงานมาโดยตลอดว่า
ผู้ส่งออกก๊าซหุงต้มตามมาตรา 7 นั้นมีกำไรเกินควร โดยสูงมากเกือบกิโลกรัมละ 8 บาท ในขณะที่เมื่อขายในประเทศมีค่าการตลาดเพียง 3.25 บาทต่อกิโลกรัม คิดเป็นเงินกำไรส่วนเกินปีละเกือบ 10,000 ล้านบาท

ทำไมไม่เก็บภาษีส่งออกหรือหาวิธีการอื่นๆ ที่จะนำกำไรส่วนเกินเหล่านั้นซึ่งไม่ต้องเสียภาษีมาช่วยเหลือประชาชนผู้ใช้ในประเทศให้ได้ใช้ก๊าซหุงต้มในราคาที่ถูกลง แต่กลับไม่มีคำตอบใดๆจากกระทรวงพลังงานเลย ในวันที่ 3 มิถุนายน 2549

ผมก็ได้เรียกร้องเรื่องนี้ผ่านรายการวิทยุอีกครั้งในคลื่น 90.5 โดยผมคิดว่าคนไทยน่าจะได้รับทราบความจริงกันบ้าง ดังนั้น จึงเป็นที่มาของบทความฉบับนี้ที่จะบอกกล่าวให้ประชาชนได้เข้าใจอย่างแท้จริง

ก๊าซหุงต้ม (LPG) มาจาก 2 ทาง กล่าวคือ เป็นผลพลอยได้ (by product, เรียกของเหลือจากการผลิตก็ได้) ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันในสัดส่วนประมาณ 40% ส่วนที่เหลือประมาณ 60% ซึ่งเป็นส่วนหลักนั้นได้จากผลพลอยได้ (by product) ที่เหลือมาจากการแยกก๊าซธรรมชาตินั่นเอง

เป็นหลักการที่ใช้มาตลอดและเป็นที่ยอมรับ ตัวอย่างเช่น ราคาก๊าซธรรมชาติที่ ปตท. ขายให้การไฟฟ้า คิดจากราคาเนื้อก๊าซเฉลี่ยที่ปากหลุม บวกกับค่ากำไร หรือ margin แล้วบวกกับต้นทุนส่วนเพิ่มที่คิดบนค่าผ่านท่อ
โดยหลักการของการกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติตั้งแต่ปากหลุมนั้น ใช้วิธีคิดจากต้นทุน หรือ cost plus นั่นคือเอาต้นทุน บวกด้วยกำไรพอสมควร
ประเด็นก็คือว่า ก๊าซหุงต้ม (LPG) เมื่อเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ หรือผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมัน ต้นทุนส่วนเพิ่มจริงๆ นั้นเกือบไม่มีเลย เพราะการคิดต้นทุนการแยกก๊าซธรรมชาติ กับกำไรบางส่วนได้รวมอยู่ในราคาก๊าซธรรมชาติที่ขายให้การไฟฟ้า หรือขายให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้ไปแล้ว

อีกด้านหนึ่งเช่นเดียวกันต้นทุนต่างๆ ของโรงกลั่นน้ำมันก็ได้สะท้อนอยู่ในค่าการกลั่นน้ำมัน และสะท้อนอยู่ในราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ขายอยู่แล้ว ฉะนั้นเมื่อเป็นดังที่กล่าว ก็อาจพอสรุปได้ว่า ก๊าซหุงต้ม (LPG) มีต้นทุนเพื่อให้ได้มาต่ำมาก เพราะต้นทุนส่วนใหญ่ได้ถูกสะท้อนไปกับราคาขายก๊าซธรรมชาติ และราคาน้ำมันสำเร็จรูปแล้ว

แต่โครงสร้างการตั้งราคาขายก๊าซหุงต้ม (LPG) กลับสวนทางอย่างสิ้นเชิงกับการตั้งราคาขายก๊าซธรรมชาติ โดยเอาราคาประกาศปิโตรมิน ของทางตะวันออกกลาง ที่ซาอุดีอาระเบีย เป็นเกณฑ์ หักด้วยค่าใช้จ่ายในการขนส่งจากซาอุฯ มากรุงเทพฯ คงที่ที่ 16 US$ ต่อตัน ซึ่งกำหนดเพดานไว้ไม่เกิน 315 US$ ต่อตัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

ราคาตามประกาศ ปิโตรมิน (ตั้งเป็นตุ๊กตา) 500 US$/Ton
หักค่าขนส่ง - 16 US$/Ton
คิดที่เพดาน 315 US$/Ton
คิดอัตราแลกเปลี่ยน 40 บาทต่อ US$ เป็น 12.6 บาทต่อกิโลกรัม
ภาษีสรรพสามิต 2.17 บาทต่อกิโลกรัม
ภาษีเทศบาล 0.217 บาทต่อกิโลกรัม
กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ชดเชย) -2.5301 บาทต่อกิโลกรัม
ราคาขายส่ง ณ คลังก๊าซ 12.4569 บาทต่อกิโลกรัม
(รัฐต้องชดเชยค่าขนส่งอีก 2-4 บาทต่อกิโลกรัม)
ค่าการตลาด 3.2534 บาทต่อกิโลกรัม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1.0997 บาทต่อกิโลกรัม
ราคาขายปลีก (รวม VAT) 16.8140 บาทต่อกิโลกรัม
ถึงแม้ว่าจะมีการตรึงราคาอยู่ทำให้รัฐต้องสูญเงินไปโดยเฉลี่ย 5 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับการชดเชยของกองทุนน้ำมันและค่าขนส่ง แต่ค่าการตลาดที่ผู้ค้าได้รับนั้นสูงถึง 3.25 บาทต่อกิโลกรัม เหมือนการันตีกำไรให้เอกชน โดยที่รัฐได้รายได้จากภาษีเพียง 3.4867 บาทต่อกิโลกรัม แต่รัฐกลับต้องชดเชยสูงถึงประมาณ 5 บาทต่อกิโลกรัม รัฐไม่ได้อะไรเลย

ที่ซ้ำร้ายกว่านั้นเอกชนผู้ส่งออก ตามมาตรา 7 อาทิเช่น ปิคนิค, ปตท. ,สยามแก๊ส, worldgas, ยูนิค ,คาลเท็กซ์ คงส่งออกกันพอควร (ปตท.อาจจะมีหน้าที่หลักที่จะต้องจัดให้ผู้ใช้ในประเทศมีก๊าซหุงต้มใช้เพียงพอก่อนเป็นอันดับแรกแล้วจึงส่งออก) วิธีการจัดสรรโควตาส่งออกในอดีตก่อนปี 2549 นั้น ใช้วิธีตกลงกัน จัดสรรกันเองในกลุ่มผู้ค้าตามมาตรา 7 โดยมีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเป็นเจ้าภาพในการตกลงกัน

จากตัวเลขเห็นได้เลยว่าได้กำไรขั้นต่ำอยู่แล้วประมาณเกือบ 200 US$/Ton (เพราะราคาต่างประเทศสูงมากกว่า 500 US$/Ton บางช่วงมากกว่า 600 US$/Ton ด้วยซ้ำ) หรือเกือบ 8 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งตกอยู่ในมือเอกชนล้วนๆ รัฐไม่ได้อะไรเพราะการส่งออกไม่มีการเสียภาษี คิดเป็นตัวเลขคร่าวๆ ส่งออกปีละประมาณ 900,000 ตัน เป็นเงินประมาณ 6,660 ล้านบาทต่อปี (=185 x 40 x 900,000)

คงต้องมีผู้ได้รับประโยชน์จากสิ่งนี้ เป็นประเด็นที่นำสืบต่อไปน่าจะไม่ยาก เพราะผู้ค้าก๊าซหุงต้มตามมาตรา 7 ก็มีจำกัด อาทิเช่น ปิคนิคแก๊ส, ปตท.,สยามแก๊ส, worldgas, ยูนิค, คาลเท็กซ์ เป็นต้น ฉะนั้นน่าจะพอเห็นภาพพอควร และจะสามารถนำไปสู่วิธีที่จะทำให้ราคาก๊าซหุงต้มลดลงในระยะสั้น และระยะยาวดังนี้

1. จัดเก็บค่าโควตาการส่งออกก๊าซหุงต้ม (LPG) เหมือนกับการเก็บค่าพรีเมียมข้าวในอดีต แล้วออกกฎหมายนำมูลค่าเงินที่เก็บได้นำมาลดราคาค่าก๊าซหุงต้มที่ขายในประเทศ ทดลองคิดเก็บค่าโควตาการส่งออกที่ 3 บาทต่อกิโลกรัม เอกชนยังได้เยอะอยู่ถ้าส่งออก เพราะไม่ต้องเสียภาษีในประเทศเลย คำนวณง่ายๆ ดังนี้ เก็บค่าโควตาส่งออกที่ 3 บาทต่อกิโลกรัม หรือ 3,000 บาทต่อตัน จากปริมาณส่งออกโดยเฉลี่ยที่ 900,000 ตันต่อปี สำหรับปริมาณการใช้ในประเทศอยู่ที่ประมาณ 2.1 ล้านตันต่อปี มีประมาณ 1.155 ล้านตันใช้ในครัวเรือน (55%) ส่วนที่เหลือก็ใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไป อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และขนส่ง

ถ้านำกำไรส่วนเกินจากการส่งออกดังกล่าวมาชดเชยให้ผู้ใช้ก๊าซหุงต้มในครัวเรือนเท่านั้น โดยที่การชดเชยจากกองทุนน้ำมันยังเป็นเหมือนเช่นในปัจจุบัน ผลจะทำให้ก๊าซหุงต้มในครัวเรือนจะลดลง 2.3 บาทต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 34.5 บาทต่อถัง สำหรับถังขนาด 15 กิโลกรัม ซึ่งใช้ปกติในครัวเรือน ซึ่งปัจจุบันขายอยู่เฉพาะราคาเนื้อก๊าซ (เปลี่ยนถัง) ถังละ 265 บาท ถ้าไม่รวมค่าขนส่ง (ซื้อหน้าร้าน) ก็คิดที่ 255 บาทต่อถัง

ดังนั้น ในกรณีดังกล่าวนี้ก็จะสามารถลดราคาลงได้เท่ากับ 34.50 บาทต่อถัง นั่นคือประชาชนจะสามารถซื้อได้ที่ราคา 220.50 บาทต่อถัง (ไม่รวมค่าขนส่งถึงบ้าน) หรือถ้าจะนำกำไรส่วนเกินเหล่านี้มาชดเชยเงินที่กองทุนน้ำมันชดเชยอยู่ก็จะเป็นประโยชน์ ทำให้ไม่ต้องอ้างว่าขณะนี้รัฐได้ตรึงราคาก๊าซหุงต้ม ผลก็คือสามารถปล่อยลอยตัวได้เลยและประชาชนไม่ได้รับผลกระทบ

2. ในระยะยาว เห็นจะต้องเข้าไปสู่การปรับโครงสร้างการตั้งราคาก๊าซหุงต้ม ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องอาศัยคณะกรรมการจากหลายๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาถกเถียงกัน แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องอาศัยหลักการการตั้งราคาที่ให้สะท้อนต้นทุนส่วนเพิ่มที่แท้จริง ไม่ใช่กำหนดเพดานไว้ที่ 315 US$/Ton ผมเชื่อว่าต้นทุนการผลิตก๊าซหุงต้มจริงๆ ต่ำมาก เพราะเป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันและการแยกก๊าซธรรมชาติ

ในเมื่อโครงสร้างก๊าซธรรมชาติตั้งแต่ต้นทางจากอ่าวไทยนั้นใช้หลักการต้นทุนเป็นตัวตั้งราคา แต่พอมาเป็นก๊าซหุงต้มซึ่งเป็นผลพลอยได้แท้ๆ กลับเปลี่ยนไปใช้ราคาที่แพงขึ้น หรือเป็นราคากลางที่ซาอุฯ เหล่านี้ไม่เป็นธรรมกับคนไทยเจ้าของประเทศอย่างแน่นอน

3. ค่าการตลาดที่สูงถึง 3.25 บาทต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 1.625 บาทต่อลิตรนั้น ควรจะพิจารณาทบทวนลดลง เพราะสูงมากเมื่อเทียบกับน้ำมันสำเร็จรูปที่ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 1 บาทต่อลิตร อีกทั้งบางช่วงยังไม่ถึง 1 บาทต่อลิตรเลย ทำไมต้องทำให้เอกชนที่เป็นผู้ค้าก๊าซหุงต้มมีกำไรเกินปกติด้วย

กล่าวโดยสรุปพวกเราคนไทยน่าจะพอคิดได้ว่าการบริหารจัดการด้านพลังงานของประเทศนั้น มีผลประโยชน์ซ่อนอยู่กลับกลุ่มคนบางกลุ่ม ไม่ใช่เป็นประโยชน์ของคนไทยทั้งประเทศ น่าจะถึงเวลาแล้วที่พวกเราคนไทยควรที่จะเรียกร้องการปรับโครงสร้างธุรกิจพลังงานทั้งระบบอย่างจริงจัง เอาไว้ในบทความต่อๆ ไป จะเริ่มตีแผ่โครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ และโครงสร้างค่าไฟฟ้ากันต่อไป
emo15.gif

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
credit จาก
www.cefiro-ff-club.com ครับ
[TBODY] [/TBODY]
 


ยังไงก็ถูกกว่าน้ำมัน แต่ไอ้พวกน้ำมันต้องเสียค่าชดเชยให้พวกใช้ก๊าซ ด้วยนี่สิ
 
แหม เอาน่าก็ช่วงนี้เค้าเรียกช่วงขาขึ้นของ LPG อะเนอะ
คนชั้นกลางอย่างเราจะไปทำอะไรได้ ต้องจำยอม
 
เหมือนเดิม ใครอ่านแล้ว สรุปสั้นๆให้ที (อย่าเกิน 5บรรทัดนะ เป็นภูมิแพ้ตวหนังสือ) 555
 
ก้อต้องทนไปเพราะยังไงก้อถูกกว่าน้ำมัน
 
แล้วมันทำไมครับ กำไมกไปแต่เราจ่ายไหวก้อโอแล้วนี้ครับ ถ้ามันหนักเข้าเขาก้อลดกำไรลงเพื่อให้คนซื้อเองแหละครับ
 
เรื่องมากนัก เดี๋ยวว่าจะเติมอ๊อกเทนร้อยเก้าเก้าแหละ(เงี่ยวใส่ถังน้มันซะเลย แรงแน่ๆ)
 
เมื่อวาน ฟังข่าว

เค้าบอกว่า lpg

ตอนนี้อะ ติดไปเลย เพราะราคาถูกกว่าราคาตลาดโลกอยู่เท่าตัว

แต่ประมาณ ก.ค. นี้ ราคาจะเริ่มลอยตัว

อาจจะขยับไปถึง 20 บาท

ซึ่งกว่าจะถึงตอนนั้น ngv ราคาจะเท่าเดิม

แล้วค่าติดตั้ง ngv ก็จะถูกลง เหลือหมื่นกว่าบาท

ขี้เกียจพิมพ์แระ


แต่สรุปว่า ตอนนี้อะ อย่าเพิ่งติด ngv เพราะ เวลาเติมต้องรอคิวนาน บางทีรอแล้ว ของหมด

ค่าติดตั้งก็ยังแพง

แล้วพอ lpg ราคาแพง คนก็จะหันมาติด ngv กัน ตอนนั้น ล่ะ ค่อยติด เพราะค่าติดตั้งจะถูก

ผลิตเองได้บ้าง นำเข้าได้ถูกบ้าง


ประมาณนี้



แล้วมันเกี่ยวกับหัวข้อนี้เปล่านะ ?
 
ติด lpg ไปก่อนตอนนี้ กว่าราคาจะแพง เราก็ใช้จนคุ้มแล้ว

จับใจความได้ประมาณนั้น
 
อื่มก็ เห็นด้วยกะเก้ง
แต่ไม่รู้
แหล่งที่มาจริงเปล่า
อาจเป็นแผนโครงสร้างทางการค้า
เพราะมันเหมือนคิดเองไงไม่รู้
 

กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see
กลับ
ยอดนิยม