ค่ากำหนดที่แตกต่างกันไป เช่น 0W-40
5W-30,5W-40,5W-50,10w-30,15W-30 เป็นต้น ซึ่งผมอยากจะถามท่านผู้รู้ว่า สูตรและค่าต่างๆที่กำหนดมานั้นมีความหมายอย่างไร ?? ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่าน้ำมันทุกชนิดจะมีความหนืด หรือที่เราเรียกว่า ความข้นเหนียว โดยธรรมชาติ ความหนืดนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ เช่น เมื่อได้รับความร้อนน้ำมันจะใส และ เมื่อได้รับความเย็นน้ำมันจะข้น ความหนืดของน้ำมันจะมีหน่วยวัดเป็น เซนติสโตรก โดยหลักการวัดค่าความหนืดนั้น ถ้าพูดกันอย่างง่ายๆ จะนำน้ำมันปริมาณ 60 cc. มาทำให้ร้อนที่ 100 C แล้วบรรจุใส่ในหลอดแก้วที่มีรูขนาดเล็กทางด้านปลายหลอด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มม เพื่อปล่อยให้น้ำมันไหลแล้วจับเวลาว่าปริมาณน้ำมัน 60 cc . นั้นจะไหลหมดภายในกี่วินาที จากนั้นจึงนำไปคำนวณเพื่อหาค่าออกมาเป็นเซนติสโตรก แล้วเทียบว่าเป็นน้ำมันเบอร์ความหนืด SAE อะไร
SAE ย่อมาจาก The Soceity of Automotive Engineer ซึ่งเป็นสมาคมวิศวกรรมยานยนต์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาโดยที่ SAE จะเป็นผู้กำหนดเบอร์ความหนืดของน้ำมันเครื่อง
โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ น้ำมันเครื่องที่ใช้ในฤดูหนาวและน้ำมันเครื่องที่ใช้ในฤดูร้อน โดยที่เบอร์ความหนืดของน้ำมันเครื่องในกลุ่มฤดูหนาว จะมีตัว W ซึ่งย่อมาจาก Winter ต่อท้าย เบอร์ความหนืดในกลุ่มนี้ ได้แก่ 0W,5W,10W,15W,20W,25W และวัดค่าความหนืดที่อุณหภูมิ -30 C ถึง - 5 C เบอร์ที่น้อยจะใสและเบอร์ที่มากกว่าข้นกว่า
ส่วนใหญ่ความหนืดสำหรับน้ำมันในกลุ่มฤดูร้อนได้แก่ SAE 20,30,40,50,60 โดยวัดค่าความหนืดที่ 100 C เช่นเดียวกัน เบอร์ที่น้อยจะใสและเบอร์ที่มากจะข้นในอดีตนั้นผู้ใช้รถจะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันตามฤดูกาลที่เปลี่ยนไป เช่น เมื่อถึงฤดูหนาวก็จะต้องใช้น้ำมันเครื่องเบอร์ที่มี W ต่อท้าย ซึ่งเป็นน้ำมันเครื่องสำหรับฤดูหนาวและเมื่อถึงฤดูร้อนก็ต้องถ่ายน้ำมันเครื่องที่ใช้ในฤดูหนาวออกเนื่องจากน้ำมันจะใสเกินไปไม่เหมาะกับการใช้งานในฤดูร้อน และเปลี่ยนมาใช้น้ำมันสำหรับฤดูร้อนแทน ซึ่งเป็นการยุ่งยาก ดังนั้นจึงมีการพัฒนาน้ำมันที่เรียกว่า น้ำมันมัลติเกรดขึ้นมาเพื่อให้ใช้ได้ตลอดทั้งปี
สำหรับในบ้านเราเบอร์น้ำมันเครื่องที่เหมาะสมนั้นมีหลายเบอร์ด้วยกันสามารถใช้ได้ทั้งนั้น แต่ที่
นิยมใช้กันมาก ได้แก่เบอร์ SAE 15W/40 และ 20W/50 แต่ถ้าจะใช้เบอร์ต่างไปจากนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไรขอให้เบอร์ความหนืดในช่วงฤดูร้อนเป็นเบอร์ 30 ขึ้นไปก็ใช้ได้
Q การเลือกซื้อน้ำมันเครื่องจะพิจารณาจากอะไร
A การเลือกซื้อน้ำมันเครื่องให้เหมาะกับรถของท่านจะต้องพิจารณาก่อนว่ารถของท่านเป็นรถประเภทไหนเครื่องยนต์ชนิดใด เช่น รถเก๋ง รถกระบะ รถมอเตอร์ไซด์ฯลฯเพราะรถแต่ละชนิดแต่ละประเภทก็จะมีน้ำมันหล่อลื่นเฉพาะอย่างแตกต่างกันไป
Q น้ำมันเครื่องสำหรับรถเก๋งและน้ำมันเครื่อง สำหรับรถกระบะแตกต่างกันหรือไม่
A โดยทั่วไปแล้วรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นรถประเภทใดก็ตามจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มโดยอาศัยการแบ่งประเภทของเครื่องยนต์ คือ เครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งเครื่องยนต์แต่ละประเภท ก็ต้องการน้ำมันเครื่องที่แตกต่างกัน
Q น้ำมันเครื่องที่สามารถใช้กับเครื่องยนต์ทั้ง 2 ประเภทมีหรือไม่
A น้ำมันเครื่องทั่วไปสามารถใช้ได้ทั้งกับเครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซลเพียงแต่ว่าหากต้องการให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่ผลิตขึ้นมาเพื่อเครื่องยนต์ชนิดนั้นๆ
Q จะรู้ได้อย่างไรว่าน้ำมันเครื่องชนิดใดเหมาะสำหรับเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซล
A สังเกตุได้จากมาตรฐาน API น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน จะมีมาตรฐานขึ้นต้น S เช่น API SG หรือ SH ส่วนน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลจะมีตัว C ขึ้นต้นเช่น CD หรือ CE หรือตัวอย่างเช่น น้ำมันเครื่อง API SH/CD หมายถึงน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซินมาตรฐาน SH และสามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้ด้วยเพราะผ่านมาตรฐาน CD แต่เหมาะสำหรับเครื่องยนต์เบนซินมากกว่า ในทำนองเดียวกัน น้ำมันเครื่องมาตรฐาน API CF4/SG หมายถึงน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขั้น CF4 และสามารถใช้กับเครื่องยนต์เบนซินได้ด้วย เช่นเดียวกันแต่ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลจะเหมาะกว่า
Q API หมายถึงอะไร
A API ย่อมาจากคำว่า The American Petroleum หมายถึงสถาบันปิโตรเลียมแห่งสหรัฐอเมริกาทำหน้าที่กำหนดคุณภาพของน้ำมันเครื่อง
Q API กำหนดคุณภาพอย่างไร
A API กำหนดคุณภาพของน้ำมันเครื่องโดยแบ่งน้ำมันเครื่องออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซินและน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล
Q กำหนดอย่างไร
Q มาตรฐานของน้ำมันเครื่องยนต์เบนซินจะมีคำว่า S ขึ้นต้นแล้วต่อด้วยตัวอักษร A,B,C,D,...เช่น SA, SB, SC, SD...โดยมีคุณภาพดีขึ้นเป็นลำดับขั้น ในปัจจุบันมาตรฐานสูงสุดคือ API SJ
มาตรฐานของน้ำมันเครื่องยนต์ดีเซลจะมีตัวอักษร C ขึ้นต้นและต่อท้ายด้วย A,B,C,D ...เช่นเดียวกับมาตรฐานสูงสุดในปัจจุบันคือ API CG4
Q สำหรับรถยนต์สมัยใหม่ควรเลือกใช้น้ำมันมาตรฐานใด
A รถยนต์สมัยใหม่มีวิวัฒนาการของเครื่องยนต์เปลี่ยนแปลงไปมากดังนั้นสำหรับเครื่องยนต์เบนซินควร
เลือกใช้น้ำมันที่มีมาตรฐาน SG หรือ SH ขึ้นไปและเครื่องยนต์ดีเซลควรเลือกใช้น้ำมันที่มีมาตรฐาน CD,CE หรือ CF4
Q ความหนืดของน้ำมันมีผลดีผลเสียอย่างไร
A ความหนืดของน้ำมันมีผลต่อการหล่อลื่นและช่วยลดการสึกหรอได้มากดังนั้นการเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดเหมาะสมซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น
Q มีวิธีในการเลือกอย่างไร
A น้ำมันเครื่องที่เหมาะสมสำหรับเครื่องยนต์ที่ใช้ในภูมิอากาศของบ้านเราควรจะเป็นเบอร์ SAE 30,40 หรือ SAE 10W/40 , 15W/40 หรือ 20W/50
Q SAE หมายถึงอะไร
A SAE ย่อมาจากคำว่า The Society of Automotive Engineer สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้กำหนดความหนืดของน้ำมันเครื่องโดยแบ่งออกเป็นน้ำมันเกรดเดี่ยว Monograde และน้ำมันเกรดรวม
Multigrade
Q น้ำมันโมโนเกรดและน้ำมันมัลติเกรดต่างกันอย่างไร
A น้ำมันมัลติเกรดจะสามารถใช้งานที่อุณหภูมิกว้างกว่าน้ำมันโมโนเกรด และสามารถปรับค่าความหนืด
ให้เหมาะสมได้ แม้ว่าอุณหภูมิของบรรยากาศ หรืออุณหภูมิการทำงานของเครื่องยนต์จะเปลี่ยนไป ทำให้เครื่องยนต์ได้รับการหล่อลื่นและป้องกันตลอดการทำงาน บางคนเคยกล่าวว่าน้ำมันชนิดมัลติเกรดไม่มีความจำเป็น สำหรับการใช้งานในบ้านเรา ถึงแม้ว่าในประเทศไทยไม่มีฤดูหนาวที่หนาวจัดอย่างใน ยุโรป หรือ อเมริกา แต่อย่างไรก็ตามน้ำมันเครื่องมัลติเกรดก็เหมาะสมกว่าน้ำมันโมโนเกรด สำหรับการใช้งานในบ้านเรา เพราะน้ำมันมัลติเกรด จะใสกว่าเมื่ออุณหภูมิต่ำ ทำให้ไหลไปหล่อลื่นได้ดีกว่าและจะข้นกว่า น้ำมันโมโนเกรด เมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้นเกิน 100 C ทำให้มีฟิล์มน้ำมันไปหล่อลื่นและลดการสึกหรอได้ดีกว่า
Q น้ำมันเครื่องชนิดสังเคราะห์แตกต่างจากน้ำมันเครื่องธรรมดาอย่างไร
A น้ำมันเครื่องธรรมดาที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาดทั่วไปผลิตขึ้นมาจากน้ำมันปิโตรเลี่ยมซึ่งมีข้อดีคือหาได้ง่ายและราคาถูกนอกจากนี้ก็ยังมีคุณภาพที่ดีพอสมควรส่วนน้ำมันเครื่องสังเคราะห์เป็นน้ำมันเครื่องที่มนุษย์คิดค้นขึ้นจากขบวนการทางปิโตรเคมี ทำให้มีคุณภาพเหนือกว่าน้ำมันเครื่องทั่วไปในหลายๆด้าน แต่มีข้อเสีย คือ ราคาแพง ขอบคุณ
www.bikeloves.com/ คุณประชา