- กระทู้ ผู้เขียน
- #1
เกิดอะไรขึ้น เมื่อราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้านิวยอร์กแพงกว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์ที่จุดจากทะเลเหนือ?
คำถามนี้ เกิดขึ้นล่าสุดในวงการน้ำมันโลก เพราะตามปกติแล้ว ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ มีแนวโน้มจะสูงกว่าราคาน้ำมันดิบในนิวยอร์กประมาณ 1-2 ดอลลาร์ จะบอกว่า เป็นเพราะค่าดอลลาร์อ่าน ก็ไม่ใช่ เพราะยิ่งค่าดอลลาร์อ่อน ราคาน้ำมันก็น่าจะยิ่งอ่อน
จะบอกว่าเป็นเพราะทีมฟุตบอลอีรัก ได้เข้าชิงชนะเลิศเอเชี่ยนคัพเป็นครั้งแรก ทำให้แนวโน้มว่า ทหารอเมริกันจะต้องถอนทหารจากอิรักเร็วขึ้น เป็นจริงมากขึ้น ก็ไมน่าจะใช่ เพราะโดยข้อเท็จจริง ทหารอเมริกันกำลังปวดหัวว่า จะขนคนและเครื่องมือสารพัดจำนวนมหาศาลออกจากอิรักอย่างไร โดยไม่ให้สูญเสียมหาศาล กลายเป็นโศกนาฏกรรมแบบสงครามเวียดนาม
คำอธิบายล่าสุด ไม่มีอะไรดีกว่าเนื่องจากคนอเมริกันเที่ยวกหนักขึ้นในฤดูร้อนช่วงนี้ ทำให้ยอดการใช้น้ำมันสำเร็จรูปสูงขึ้นมา จนกระทั้งน้ำมันสำรองในคลังน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ลดลงฮวบฮาบจากปกติ
เข้าใจกันได้ เพราะราคาน้ำมันในอเมริกานั้น จะผันผวนกับตัวเลขของบรรยากาศมากพอสมควร กล่าวคือ หากอากาศหนาวจัดในฤดูหนาว ยอดการใช้น้ำมันจะสูงมากขึ้น และในฤดูร้อนหากอากาศร้อนจัด ยอดการเที่ยวก็จะพ่งขึ้น ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น ส่วนฤดูใบไม้ผลิ และฤดูในไม่ร่วง ราคาน้ำมันจะทรงตัว
ที่น่าสนใจก็คือ ตามปกติไตรมาสสามของทุกปี จะเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันดิบจะตกต่ำ แต่ปีนี้กลับไม่เป็นอย่างนั้น แสดงว่า ผลพวงของบรรยากาศในเรื่องโลกร้อน ลังเป็ฯเรื่องน่าจับตามองมากขึ้นกว่าเดิม
สิ่งที่น่าประหลาดก็มีเพียงแค่ว่า ยิ่งอากาศผันผวนมากขึ้น ยอดการใช้น้ำมันกลับเพิ่มมากขึ้น นั้นแสดงว่า การรณรงค์ประหยัดน้ำมัน เพื่อลดมลพิษจากการเผาพาลาญไฮโดรคาร์บอนจากน้ำมันและก๊าซล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง
ตัวเลขราคาน้ำมันดิบในตลาดนิวยอร์ก ระดับใกล้เคียง 77 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สูงกว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ประมาณครึ่งดอลลาร์ ติดต่อกันหลายวัน ไม่ใช่เรื่องธรราดาอย่างแน่นอน ความผิดปกติของราคาน้ำมันดังกล่าว หลายคนยืนยันว่า เกิดจากปัญหาโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐเองที่ต้องปิดซ่อมพร้อมๆ กัน ทำให้คนอเมริกันจำต้องหาทางเร่งกักตุนน้ำมันเอาไว้ใช้มากขึ้นในยามฉุกเฉิน
หลายคนกลับบอกว่า นี่คือการสมคบคิดรวมหัวกัน เพื่มส่วนต่างค่าการกลั่นจองบรรดาโรงกลั่นน้ำมันเองเป็นสำคัญเพราะว่าระยะนี้ โรงกลั่นที่เคยปิดซ่อมหลายแห่งกลับมาผลิตเหมือนเดิมแล้ว แต่พยายามลดการสต๊อกน้ำมันดิบลงไป เพื่อหาทางปั่นราคาน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น
ไม่ว่าข้อถกเถียงจะลงเอยอย่างไร แต่เอาเป็นว่า แรงตระหนกของตลาดน้ำมัน ส่งผลให้บรรดากองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่เล่นตลาดน้ำมันในอเมริกาอยุ่ ฉวยโอกาสทองปั่นราคาน้ำม้นขึ้นไปอีกละลอกหนึ่ง
คำถามก็คือ ความสามรถในการปั่นราคาดังกล่าว จะทำให้ราคาน้ำมันดิบในสหรัฐฯ พุ่งขึ้นไปเหนือ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลหรือไม่
มองในทางบวก ราคาน้ำมันดิบทั่วโลกน่าจะยังคงตัวต่อไปอีกระยะหนึ่ง โอกาสที่จะพ่งจึ้นไปตามการเก็งกำไรนั้น ไม่น่าจะเกิดขึ้น เว้นเสียแต่ว่า จีนซึ่งปัจจุบันกำลังได้เปรียบดุลการค้ามหาศาล ล้มเหลวที่จะควบคุมการใช้น้ำมันในประเทศ จีนเพื่อลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจที่เติบโตเกินคาดหมาย มองในทางลบ การเก็งกำไรนั้น หากมีเค้าลางของการบริโภคมาหนุ่นหลังจริง โอกาสปั่นราคาน้ำมันดิบขึ้นไป เพื่อสร้างความตระหนกต่อราคาน้ำมันทั่วโลก ก็มีความเป็ฯไปได้ ไม่สามารถตัวความคิดเรื่องนี้ได้ถนัด
โดยเฉพาะฝีเมือของยรรดาเฮดจ์ฟันด์นั้น เป็นที่รุ้กันอยู่ว่าร้ายแรงขนาดไหน ข่าวนี้ แม้จะไม่เป็นผลดีต่อธุรกิจอื่นๆ แต่สำหรับธุกิจพลังงานแล้ว นี่คือโอกาสทองอีกครั้งหนึ่ง เพราะกำไรจากธุรกิจขาขึ้น ยังคงจะไม่จบรอบง่ายๆ
ผู้ค้าน้ำมันดิบก็จะปั่นราคาเก็งกำไรอื้อซ่า โรงกลั่นจะมีค่าการกลั่นสูงขึ้นรัฐบาลที่ไม่กล้าแทรกตลาดค้าปลีกน้ำมันและก๊าซจะยินยอมให้ผ้ค้าน้ำมันลอยตัวได้ตามต้องการ จะเดือดร้อนสุดๆ ก้บรรดาบริษัทที่ใช้น้ำมันเพื่อการผลิตและขนส่ง หรือมีสัดส่วนการใช้พลังงานต่อหน่อยของสินค้าสูงกว่าระดับที่ควรจะเป็น เพราะต้อนทุนจะสูงขึ้น ซึ่งทางออกมีทางเดียวคือ ผลักไปยังผู้บริโภค
เรื่องราคาน้ำมัน จึงมีมุมมองได้ 2 ด้านพร้อมกันเสมอ เพียงแต่ในเมืองไทยนั้น มูลค่า BV ของหุ้นในเครือ ปตท.ทั้งหลาย ก็คงพุ่งกระฉุดไมหยุด ซึ่งในทางธุรกิจเป็ฯเรื่องดี แต่ในมุมกลับกันก็น่าจะเป็นผลร้ายต่อภาพลักษณ์ของบริษัท เพราะกรณีที่ค้างคาในศาล จากการถูกฟ้องว่า การแปรรูปเมื่อหลายปีก่อนผิดกฎหมาย อาจจะกลายเป็นฝีร้ายที่หนองใกล้แตกได้ง่ายขึ้น เหตุผลก็ไม่มีอะไรมาก ใครๆ บางคน ก็คงหวังลึกๆ ว่าหากกลัยไปเป็นรัฐวิสหกิจแดนสนธยาอย่างเดิม โอกาส " ขอความอุปการะ" ในกิจกรรมการเมืองพิเศษที่ไม่เปิดเผย แต่ "เพื่อชาติ" อาจจะสะดวกมากยิ่งขึ้น
ราคาน้ำมันโลกจึงเชื่อมโยงมาถึงการเมืองและกฎหมายในเมืองไทยอย่างคาดไม่ถึง
..................................
วิษณุ โชลิตกุล
คำถามนี้ เกิดขึ้นล่าสุดในวงการน้ำมันโลก เพราะตามปกติแล้ว ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ มีแนวโน้มจะสูงกว่าราคาน้ำมันดิบในนิวยอร์กประมาณ 1-2 ดอลลาร์ จะบอกว่า เป็นเพราะค่าดอลลาร์อ่าน ก็ไม่ใช่ เพราะยิ่งค่าดอลลาร์อ่อน ราคาน้ำมันก็น่าจะยิ่งอ่อน
จะบอกว่าเป็นเพราะทีมฟุตบอลอีรัก ได้เข้าชิงชนะเลิศเอเชี่ยนคัพเป็นครั้งแรก ทำให้แนวโน้มว่า ทหารอเมริกันจะต้องถอนทหารจากอิรักเร็วขึ้น เป็นจริงมากขึ้น ก็ไมน่าจะใช่ เพราะโดยข้อเท็จจริง ทหารอเมริกันกำลังปวดหัวว่า จะขนคนและเครื่องมือสารพัดจำนวนมหาศาลออกจากอิรักอย่างไร โดยไม่ให้สูญเสียมหาศาล กลายเป็นโศกนาฏกรรมแบบสงครามเวียดนาม
คำอธิบายล่าสุด ไม่มีอะไรดีกว่าเนื่องจากคนอเมริกันเที่ยวกหนักขึ้นในฤดูร้อนช่วงนี้ ทำให้ยอดการใช้น้ำมันสำเร็จรูปสูงขึ้นมา จนกระทั้งน้ำมันสำรองในคลังน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ลดลงฮวบฮาบจากปกติ
เข้าใจกันได้ เพราะราคาน้ำมันในอเมริกานั้น จะผันผวนกับตัวเลขของบรรยากาศมากพอสมควร กล่าวคือ หากอากาศหนาวจัดในฤดูหนาว ยอดการใช้น้ำมันจะสูงมากขึ้น และในฤดูร้อนหากอากาศร้อนจัด ยอดการเที่ยวก็จะพ่งขึ้น ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น ส่วนฤดูใบไม้ผลิ และฤดูในไม่ร่วง ราคาน้ำมันจะทรงตัว
ที่น่าสนใจก็คือ ตามปกติไตรมาสสามของทุกปี จะเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันดิบจะตกต่ำ แต่ปีนี้กลับไม่เป็นอย่างนั้น แสดงว่า ผลพวงของบรรยากาศในเรื่องโลกร้อน ลังเป็ฯเรื่องน่าจับตามองมากขึ้นกว่าเดิม
สิ่งที่น่าประหลาดก็มีเพียงแค่ว่า ยิ่งอากาศผันผวนมากขึ้น ยอดการใช้น้ำมันกลับเพิ่มมากขึ้น นั้นแสดงว่า การรณรงค์ประหยัดน้ำมัน เพื่อลดมลพิษจากการเผาพาลาญไฮโดรคาร์บอนจากน้ำมันและก๊าซล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง
ตัวเลขราคาน้ำมันดิบในตลาดนิวยอร์ก ระดับใกล้เคียง 77 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สูงกว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ประมาณครึ่งดอลลาร์ ติดต่อกันหลายวัน ไม่ใช่เรื่องธรราดาอย่างแน่นอน ความผิดปกติของราคาน้ำมันดังกล่าว หลายคนยืนยันว่า เกิดจากปัญหาโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐเองที่ต้องปิดซ่อมพร้อมๆ กัน ทำให้คนอเมริกันจำต้องหาทางเร่งกักตุนน้ำมันเอาไว้ใช้มากขึ้นในยามฉุกเฉิน
หลายคนกลับบอกว่า นี่คือการสมคบคิดรวมหัวกัน เพื่มส่วนต่างค่าการกลั่นจองบรรดาโรงกลั่นน้ำมันเองเป็นสำคัญเพราะว่าระยะนี้ โรงกลั่นที่เคยปิดซ่อมหลายแห่งกลับมาผลิตเหมือนเดิมแล้ว แต่พยายามลดการสต๊อกน้ำมันดิบลงไป เพื่อหาทางปั่นราคาน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น
ไม่ว่าข้อถกเถียงจะลงเอยอย่างไร แต่เอาเป็นว่า แรงตระหนกของตลาดน้ำมัน ส่งผลให้บรรดากองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่เล่นตลาดน้ำมันในอเมริกาอยุ่ ฉวยโอกาสทองปั่นราคาน้ำม้นขึ้นไปอีกละลอกหนึ่ง
คำถามก็คือ ความสามรถในการปั่นราคาดังกล่าว จะทำให้ราคาน้ำมันดิบในสหรัฐฯ พุ่งขึ้นไปเหนือ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลหรือไม่
มองในทางบวก ราคาน้ำมันดิบทั่วโลกน่าจะยังคงตัวต่อไปอีกระยะหนึ่ง โอกาสที่จะพ่งจึ้นไปตามการเก็งกำไรนั้น ไม่น่าจะเกิดขึ้น เว้นเสียแต่ว่า จีนซึ่งปัจจุบันกำลังได้เปรียบดุลการค้ามหาศาล ล้มเหลวที่จะควบคุมการใช้น้ำมันในประเทศ จีนเพื่อลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจที่เติบโตเกินคาดหมาย มองในทางลบ การเก็งกำไรนั้น หากมีเค้าลางของการบริโภคมาหนุ่นหลังจริง โอกาสปั่นราคาน้ำมันดิบขึ้นไป เพื่อสร้างความตระหนกต่อราคาน้ำมันทั่วโลก ก็มีความเป็ฯไปได้ ไม่สามารถตัวความคิดเรื่องนี้ได้ถนัด
โดยเฉพาะฝีเมือของยรรดาเฮดจ์ฟันด์นั้น เป็นที่รุ้กันอยู่ว่าร้ายแรงขนาดไหน ข่าวนี้ แม้จะไม่เป็นผลดีต่อธุรกิจอื่นๆ แต่สำหรับธุกิจพลังงานแล้ว นี่คือโอกาสทองอีกครั้งหนึ่ง เพราะกำไรจากธุรกิจขาขึ้น ยังคงจะไม่จบรอบง่ายๆ
ผู้ค้าน้ำมันดิบก็จะปั่นราคาเก็งกำไรอื้อซ่า โรงกลั่นจะมีค่าการกลั่นสูงขึ้นรัฐบาลที่ไม่กล้าแทรกตลาดค้าปลีกน้ำมันและก๊าซจะยินยอมให้ผ้ค้าน้ำมันลอยตัวได้ตามต้องการ จะเดือดร้อนสุดๆ ก้บรรดาบริษัทที่ใช้น้ำมันเพื่อการผลิตและขนส่ง หรือมีสัดส่วนการใช้พลังงานต่อหน่อยของสินค้าสูงกว่าระดับที่ควรจะเป็น เพราะต้อนทุนจะสูงขึ้น ซึ่งทางออกมีทางเดียวคือ ผลักไปยังผู้บริโภค
เรื่องราคาน้ำมัน จึงมีมุมมองได้ 2 ด้านพร้อมกันเสมอ เพียงแต่ในเมืองไทยนั้น มูลค่า BV ของหุ้นในเครือ ปตท.ทั้งหลาย ก็คงพุ่งกระฉุดไมหยุด ซึ่งในทางธุรกิจเป็ฯเรื่องดี แต่ในมุมกลับกันก็น่าจะเป็นผลร้ายต่อภาพลักษณ์ของบริษัท เพราะกรณีที่ค้างคาในศาล จากการถูกฟ้องว่า การแปรรูปเมื่อหลายปีก่อนผิดกฎหมาย อาจจะกลายเป็นฝีร้ายที่หนองใกล้แตกได้ง่ายขึ้น เหตุผลก็ไม่มีอะไรมาก ใครๆ บางคน ก็คงหวังลึกๆ ว่าหากกลัยไปเป็นรัฐวิสหกิจแดนสนธยาอย่างเดิม โอกาส " ขอความอุปการะ" ในกิจกรรมการเมืองพิเศษที่ไม่เปิดเผย แต่ "เพื่อชาติ" อาจจะสะดวกมากยิ่งขึ้น
ราคาน้ำมันโลกจึงเชื่อมโยงมาถึงการเมืองและกฎหมายในเมืองไทยอย่างคาดไม่ถึง
..................................
วิษณุ โชลิตกุล