- กระทู้ ผู้เขียน
- #1
ความเข้าใจเรือ่งการบริหารระบบอัตาแลกเปลี่ยนในสังคมไทย มีค่อนข้างน้อยจริงๆ แบงค์ชาติจึงบริหารอัตราแลกเปลี่ยนไปตามลำพัง โดยปราศจากเสียงท้วงติง วิพากษฺวิจารณ์ แม้กระทั่งกระทรวงการคลัง ก็แทบจะแตะต้องอะไรแบงค์ชาติไม่ได้เลย
ต้องเกิดปัญหาปะทุขึ้นมาเสียก่อนนั้นแหละ สังคมภายนอกถึงจะรู้ว่า แบงค์ชาติบริหารงานผิดพลาดอีกแล้ว
เมื่อสับดาห์ที่ผ่านมานี้เอง ขณะที่บ้านเมืองกำลังตื่นตกใจกับเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็เกิดเรื่องผิดฝาผิดตัวเกิดขึ้น
นั้นคือ รัฐบาลญี่ปุ่นตัวสินใจเพิ่มวงเงินสำรองช่วยเหลือหากประเทศไทยเกิดวิกฤติเรื่องทุนสำรอง จาก 3,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เป็น 6,000 ล้านดอลลาร์
หนังสือพิมพ์ใหญ่ฉบับหนึ่งถึงกับนำไปพาดหัวโตหน้า 1 โดยจับเอาเรื่องการขยายวงเงินสำรองช่วยเหลือของญี่ปุ่น มาเชื่อมโยงกับวิกฤติค่าเงินบาทของไทยเราในเวลานี้
ทั้งที่เป็นการช่วยเหลือแบบผิดที่ผิดเวลา และป็นการรักษาไข้ต่างโรคกัน
โรคภัยเมื่อปีวิกฤติ 2540 เป็นเรื่องของเงินไหลออก ทุนสำรองฯ หด ค่าเงินบาทอ่อนตัว แต่โรคภัยในปี 2550 นี้เป็นเรื่องของเงินทุนไหลเจ้ามากผิดปกติ ทุนสำรองฯ เกิดส่วนเกินมาก และเงินบาทก็แจ็งค่าจนทำร้ายการส่งออก
ฉะนั้นการแบะท่าจะช่วยเหลือเติมทุนสำรองของญี่ปุ่นจึงเป็นการมาแบบผิดที่ผิดเวลา ไม่เกี่ยวอะไรกันเลยกับปัญหาที่ประเทศไทยกำลังประสบอยู่ในขณะนี้
เงินบาทที่ทำท่าจะวิ่งไหค่าอัตราแลกเปลี่ยนที่ 30 บาท/ดอลลาร์ ยังมองไม่ออกว่าจะหาวิธีสกัดให้ได้ผลในระยเวลาเฉพาะหน้าอย่างไร
ทั้งนี้ก็เพราะไม่เคยมีการตระเตรียมเครื่องมอในการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนกันมาก่อนแม้แต่น้อย
เครื่องมือของแบงค์ชาติ ล้วนแล้วแต่เป็ฯเครื่องมือเก่าๆ ที่ใช้กับการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนในยุควิกฤติต้มยำกุ้งทั้งสิ้นไม่มีการปรับแต่งเครื่องมอให้เข้ากับวิกฤติเงินทุนไหลท่วมแต่ประการใด
เดี๋ยวนี้ก็ยังควบคุมกองทุนไปลงทุนต่างประเทศได้แค่กองละ 50 ล้านเหรียญฯ อยู่เลย ซึ่งเล็กน้อยมาก ตอนนี้ก็เลยตื่นตัวจะส่งเสริมให้บริษัทจัดการกองทุนรวมต่างๆ ขนเงินไปลงทุนกันยกใหญ่
ผู้ส่งออกขายสินค้าได้ดอลลาร์กลับมา ก็ยังต้องปฎิบัติตามระเบียบแบงค์ชาติ คือ ถือครองดอลลาร์ไว้ได้ไม่เกิน 15 วัน จะต้องเปลี่ยนดอลลาร์เป็ฯเงินบาท
เช่นนี้แล้ว จะไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งได้อย่างไร แล้วแบงค์ชาติก็มาหาแพะซี้ซั๊ว โทษผู้ส่งออกว่ารีบขายดอลลารฺเป็ฯการซ้ำเติมสถานการณ์
นโยบายการลงทุนในภาครัฐก็มีส่วน แทนที่เศรษฐกิจชะลอตัว รัฐบาลจะต้องลงทุนด้านโครงกสร้างพื้นฐานหรือ โครงการขนาดใหญ่ให้มาก เพื่อให้เกิน "อิมพอร์ต คอนแทนต์" เป็นการลดการเกินดุลการค้าอย่างมากลงมา
เหมือนโมเดลประเทศจีนแก้ไหปัญหาอัตราแลกเปลี่ยน ที่เร่งลงทุนด้านอินฟราสตรัคเจอร์ขนาดใหญ่
แต่นี่รัฐบาลไทยเรา มัวแต่กอดตำราเศรษฐกิจพอเพียงกันแบบผิดๆ กินเขียม ใช้เขียม ไม่คิดสร้างานขนาดใหญ่กันเลย ดอลลาร์ถึงได้ท่วมประเทศอยู่ในเวลานี้
เนื่องเพราะไม่เคยมีการตระเตรียมระบบพื้นฐานอะไร มาก่อน ทั้งแบงค์ชาติและกระทรวมการคลัง จึงแก้ปัญหาเงินบาทอักเสบกันค่อนข้างชุลมุล
หาเรือ่งโทษแพะกันให้ชุลมุล เดี๋ยวก็โทษผูส่งออก เดี๋ยวก็โทษตลาดหุ้น นี่ก็ร่ำๆ มีเสียงเรียกร้องจะให้มีการเก้บภาษีกำไรหุ้นกันอีกแล้ว
แต่ต้องดักคอไว้ก่อนว่า ถ้าจะคิดเก็บภาษีกำไรหุ้นก็ต้องทำทั้ง 2 ขาเหมือนอารยะประเทศเขา คือการลงทุนหุ้นมันมีทังกำไร และขาดทุน ถ้าขาดทุนก็ต้องเอามาหัก
โลกของการลงทุน มันมีทั้ง "แคปปิตอล เกน" และ"แคปปิตอล ลอส" จะคิดแต่เก็บภาษีกำไรห้นด้านเดียวได้เสียเมื่อไหร่เล่า
ในเมื่อไม่มีการตระเตรียมระบบมาก่อน การจะหวังแก้ปัญหาวิกฤติเงินบาทเที่ยวนี้ให้ได้ผลในระยะเวลาอันสั้นปัญหาเฉพาะหน้าควยคู่กันไป
แต่ขอร้องอย่าง อย่าได้คิดมาตรการอุตริ เช่น การสกัดทุน 30% ออกมาอีกก็แล้วกัน
ชาญชัย สงวยวงศ์
ต้องเกิดปัญหาปะทุขึ้นมาเสียก่อนนั้นแหละ สังคมภายนอกถึงจะรู้ว่า แบงค์ชาติบริหารงานผิดพลาดอีกแล้ว
เมื่อสับดาห์ที่ผ่านมานี้เอง ขณะที่บ้านเมืองกำลังตื่นตกใจกับเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็เกิดเรื่องผิดฝาผิดตัวเกิดขึ้น
นั้นคือ รัฐบาลญี่ปุ่นตัวสินใจเพิ่มวงเงินสำรองช่วยเหลือหากประเทศไทยเกิดวิกฤติเรื่องทุนสำรอง จาก 3,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เป็น 6,000 ล้านดอลลาร์
หนังสือพิมพ์ใหญ่ฉบับหนึ่งถึงกับนำไปพาดหัวโตหน้า 1 โดยจับเอาเรื่องการขยายวงเงินสำรองช่วยเหลือของญี่ปุ่น มาเชื่อมโยงกับวิกฤติค่าเงินบาทของไทยเราในเวลานี้
ทั้งที่เป็นการช่วยเหลือแบบผิดที่ผิดเวลา และป็นการรักษาไข้ต่างโรคกัน
โรคภัยเมื่อปีวิกฤติ 2540 เป็นเรื่องของเงินไหลออก ทุนสำรองฯ หด ค่าเงินบาทอ่อนตัว แต่โรคภัยในปี 2550 นี้เป็นเรื่องของเงินทุนไหลเจ้ามากผิดปกติ ทุนสำรองฯ เกิดส่วนเกินมาก และเงินบาทก็แจ็งค่าจนทำร้ายการส่งออก
ฉะนั้นการแบะท่าจะช่วยเหลือเติมทุนสำรองของญี่ปุ่นจึงเป็นการมาแบบผิดที่ผิดเวลา ไม่เกี่ยวอะไรกันเลยกับปัญหาที่ประเทศไทยกำลังประสบอยู่ในขณะนี้
เงินบาทที่ทำท่าจะวิ่งไหค่าอัตราแลกเปลี่ยนที่ 30 บาท/ดอลลาร์ ยังมองไม่ออกว่าจะหาวิธีสกัดให้ได้ผลในระยเวลาเฉพาะหน้าอย่างไร
ทั้งนี้ก็เพราะไม่เคยมีการตระเตรียมเครื่องมอในการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนกันมาก่อนแม้แต่น้อย
เครื่องมือของแบงค์ชาติ ล้วนแล้วแต่เป็ฯเครื่องมือเก่าๆ ที่ใช้กับการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนในยุควิกฤติต้มยำกุ้งทั้งสิ้นไม่มีการปรับแต่งเครื่องมอให้เข้ากับวิกฤติเงินทุนไหลท่วมแต่ประการใด
เดี๋ยวนี้ก็ยังควบคุมกองทุนไปลงทุนต่างประเทศได้แค่กองละ 50 ล้านเหรียญฯ อยู่เลย ซึ่งเล็กน้อยมาก ตอนนี้ก็เลยตื่นตัวจะส่งเสริมให้บริษัทจัดการกองทุนรวมต่างๆ ขนเงินไปลงทุนกันยกใหญ่
ผู้ส่งออกขายสินค้าได้ดอลลาร์กลับมา ก็ยังต้องปฎิบัติตามระเบียบแบงค์ชาติ คือ ถือครองดอลลาร์ไว้ได้ไม่เกิน 15 วัน จะต้องเปลี่ยนดอลลาร์เป็ฯเงินบาท
เช่นนี้แล้ว จะไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งได้อย่างไร แล้วแบงค์ชาติก็มาหาแพะซี้ซั๊ว โทษผู้ส่งออกว่ารีบขายดอลลารฺเป็ฯการซ้ำเติมสถานการณ์
นโยบายการลงทุนในภาครัฐก็มีส่วน แทนที่เศรษฐกิจชะลอตัว รัฐบาลจะต้องลงทุนด้านโครงกสร้างพื้นฐานหรือ โครงการขนาดใหญ่ให้มาก เพื่อให้เกิน "อิมพอร์ต คอนแทนต์" เป็นการลดการเกินดุลการค้าอย่างมากลงมา
เหมือนโมเดลประเทศจีนแก้ไหปัญหาอัตราแลกเปลี่ยน ที่เร่งลงทุนด้านอินฟราสตรัคเจอร์ขนาดใหญ่
แต่นี่รัฐบาลไทยเรา มัวแต่กอดตำราเศรษฐกิจพอเพียงกันแบบผิดๆ กินเขียม ใช้เขียม ไม่คิดสร้างานขนาดใหญ่กันเลย ดอลลาร์ถึงได้ท่วมประเทศอยู่ในเวลานี้
เนื่องเพราะไม่เคยมีการตระเตรียมระบบพื้นฐานอะไร มาก่อน ทั้งแบงค์ชาติและกระทรวมการคลัง จึงแก้ปัญหาเงินบาทอักเสบกันค่อนข้างชุลมุล
หาเรือ่งโทษแพะกันให้ชุลมุล เดี๋ยวก็โทษผูส่งออก เดี๋ยวก็โทษตลาดหุ้น นี่ก็ร่ำๆ มีเสียงเรียกร้องจะให้มีการเก้บภาษีกำไรหุ้นกันอีกแล้ว
แต่ต้องดักคอไว้ก่อนว่า ถ้าจะคิดเก็บภาษีกำไรหุ้นก็ต้องทำทั้ง 2 ขาเหมือนอารยะประเทศเขา คือการลงทุนหุ้นมันมีทังกำไร และขาดทุน ถ้าขาดทุนก็ต้องเอามาหัก
โลกของการลงทุน มันมีทั้ง "แคปปิตอล เกน" และ"แคปปิตอล ลอส" จะคิดแต่เก็บภาษีกำไรห้นด้านเดียวได้เสียเมื่อไหร่เล่า
ในเมื่อไม่มีการตระเตรียมระบบมาก่อน การจะหวังแก้ปัญหาวิกฤติเงินบาทเที่ยวนี้ให้ได้ผลในระยะเวลาอันสั้นปัญหาเฉพาะหน้าควยคู่กันไป
แต่ขอร้องอย่าง อย่าได้คิดมาตรการอุตริ เช่น การสกัดทุน 30% ออกมาอีกก็แล้วกัน
ชาญชัย สงวยวงศ์