- เข้าร่วม
- 19 ก.ค. 2008
- ข้อความ
- 348
- กระทู้ ผู้เขียน
- #1
ถ้าซ้ำแล้วขออภัย..ผมก๊อบมาครับให้เครดิตเวปนี้http://www.kbyala.ac.th/digital-lib-m5-44/Parod/1/7DAB~1/B29E~1.HTM
<table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="624"><tbody><tr><td]<table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="624"><tbody><tr><td valign="top" width="284" height="256"] เซฟิโร เอ31 ขับหลัง
นิสสัน เซฟิโร รุ่นแรกในไทย รหัสตัวถัง เอ31 เปิดตัวในปี 1990 มาพร้อมสารพัดความไฮเทคเหนือรถยนต์ยุคเดียวกัน ทำตลาดด้วยรุ่นซีดานกับเครื่องยนต์บล็อกหลัก อาร์บี20 6 สูบเรียง 2,000 ซีซีล้วน มีการปรับโฉมหลักๆ 3 ครั้ง รุ่นสุดท้ายหมดในปี 1996 และเปลี่ยนโฉมเป็น เอ32 ขับเคลื่อนล้อหน้า
รูปลักษณ์ภายนอกโค้งมนตลอดตัวถังคันยาว กระจกหน้าหลังลาดเทมาก โดยรวมดูแล้วเป็นทรงลิ่มแบบสปอร์ตซีดาน แหวกแนวด้วยไฟหน้าโปรเจกเตอร์ทรงกลม พื้นหลังของโคมเป็นลอนสีดำ กระจังหน้าพลาสติกใส เว้นช่องดักลมคู่ทรงรี ตรงกลางฝังโลโกไว้ในเนื้อกระจัง มุมกันชนหน้าติดตั้งไฟเลี้ยวแบบโคมเหลืองทรงมน ด้านล่างเว้นช่องดักลม </td> <td valign="top" width="340"]
</td> </tr> </tbody></table]
ด้านข้างสะดุดตาด้วยที่เปิดประตูทรงเพรียว และกระจกโอเปราบนเสากระจกหลังด้านข้าง (รถยนต์ส่วนใหญ่อยู่รวมกับประตูบานหลัง) กลางตัวถังคาดคิ้วกันกระแทก ชายล่างยกสันเล็กน้อย ล้อแม็กลายหยดน้ำขนาด 15 นิ้วพร้อมฝาปิดดุมกลาง
โคมไฟเลี้ยวด้านหลังสีเหลืองเป็นลอนลูกฟูก ไฟถอยหลังทรงกลมอยู่รวมกับชุดไฟเบรก ตรงกลางเป็นแผงทับทิมสีแดง กันชนหลังเว้นช่องติดป้ายทะเบียน ฝากระโปรงหลังเปิดได้แค่ขอบบนของไฟท้าย
มิติตัวถังยาว 4,710 มิลลิเมตร กว้าง 1,695 มิลลิเมตร สูง 1,375 มิลลิเมตร ระยะห่างฐานล้อ 2,670 มิลลิเมตร น้ำหนักรุ่นเกียร์ธรรมดา 1,290 กิโลกรัม รุ่นเกียร์อัตโนมัติ 1,310 กิโลกรัม
ภายในมีพวงมาลัย 3 ก้านพร้อมเพาเวอร์ ปรับระดับสูง-ต่ำ-ใกล้-ไกล ระบบปรับอากาศและเปิด-ปิดไฟหน้าแบบอัตโนมัติ เบาะนั่งและแผงข้างหุ้มด้วยผ้าลายกระสอบ มีเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุด ไม่มีแอร์แบ็ก
เริ่มบุกตลาดด้วยรุ่น 12 วาล์ว เครื่องยนต์รหัส อาร์บี20อี แบบเบนซิน 6 สูบเรียง วางตามยาว หัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ ECCS แคมชาฟต์เดี่ยว 12 วาล์ว ความกว้างกระบอกสูบ 78 มิลลิเมตร ช่วงชัก 69.7 มิลลิเมตร ความจุ 1,998 ซีซี อัตราส่วนการอัด 9.5 : 1 พร้อมระบบ DUET-EA ควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์และเกียร์อัตโนมัติให้สอดคล้องกันให้กำลังสูง สุด 121 แรงม้า (PS) ที่ 5,200 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 17.6 กก.-ม. ที่ 4,400 รอบ/นาที ส่งกำลังผ่านเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ หรืออัตโนมัติ 4 จังหวะ ขับเคลื่อนล้อหลัง
ระบบบังคับเลี้ยวแบบแร็กแอนด์พิเนียนพร้อมเพาเวอร์ ช่วงล่างแบบอิสระ พร้อมเหล็กกันโคลงทั้ง 4 ล้อ ด้านหน้าแม็กเฟอร์สันสตรัต คอยล์สปริงเยื้องศูนย์ TENSION ROD ด้านหลังมัลติลิงก์ ระบบเบรกแบบดิสก์ 4 ล้อ ไม่มีเอบีเอส ล้อแม็กขนาด 6 x 15 นิ้ว ยางขนาด 205/60R15
พิเศษด้วยระบบ DUET-SS มีโซนาตรวจสอบสภาพเส้นทางข้างหน้า แล้วปรับความหนืดของโช้กอัพ และน้ำหนักของพวงมาลัยให้เหมาะสม นอกจากการปรับอัตโนมัติแล้วก็มีสวิตช์บนแผงหน้าปัด ให้ผู้ขับเลือกได
ถ้าปรับไปที่โหมด COMFORT แล้วใช้ความเร็วปกติ พวงมาลัยจะเบา โช้กอัพจะนิ่ม และจะแข็งขึ้นเล็กน้อยเมื่อขับเร็ว แต่ถ้าปรับไปที่โหมด SPORT พวงมาลัยจะหนัก และโช้กอัพจะแข็ง
ทำตลาดได้ประมาณ 3 ปี ในช่วงปี 1993 ก็เพิ่มรุ่นเครื่องยนต์ 24 วาล์ว พร้อมปรับโฉมภายนอก เปลี่ยนพื้นหลังของโคมไฟหน้า เป็นแบบซี่ตั้งชุบโครเมียม เปลี่ยนกระจังหน้าเป็นช่องดักลมเดี่ยว ติดโลโก้ตรงกลาง กันชนหน้าเปลี่ยนใหม่ ช่องดักลมด้านล่างกว้างขึ้น เพิ่มไฟส่องด้านข้างขณะเลี้ยว
ย้ายคิ้วกันกระแทกด้านข้าง มาไว้ด้านล่างของสันข้างตัวถัง ด้านหลังเปลี่ยนไฟท้ายใหม่เป็นแบบเรียบแทนแบบลอน ไฟเลี้ยวอยู่ด้านนอก ตรงกลางเป็นไฟเบรก และไฟถอยหลังอยู่ด้านในสุด แทรกกลางด้วยแผงทับทิม ส่วนกันชนหลังไม่ได้เปลี่ยน
ไฟท้ายในรุ่นปรับโฉมนี้แบ่งเป็น 2 รุ่นย่อย ตามสีของทับทิมที่ล้อมชุดไฟท้าย ช่วงแรกเป็นทับทิมสีแดงเข้มจนเกือบดำ จึงเรียกว่ารุ่น /'/ท้ายดำ/'/ ช่วงหลังเปลี่ยนเป็นสีแดงสด จึงเรียกว่ารุ่น /'/ท้ายแดง/'/
ภายในรุ่น 12 วาล์ว เปลี่ยนวัสดุหุ้มเบาะเป็นหนังชามัวร์ ส่วนรุ่น 24 วาล์ว เป็นเบาะหนังแท้ ปรับทิศทางด้วยไฟฟ้า ทั้ง 2 รุ่นใช้พวงมาลัยแบบ 4 ก้าน จากเดิมรุ่นแรกเป็น 3 ก้าน
เพิ่มรุ่น 24 วาล์ว เป็นเครื่องยนต์บล็อก อาร์บี20ดีอี ใช้เสื้อสูบเดิม แต่เปลี่ยนฝาสูบเป็นแบบทวินแคม 24 วาล์ว แรงกว่ารุ่น 12 วาล์ว มีกำลังสูงสุด 152 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 18.5 กก.-ม. ที่ 5,200 รอบ/นาที ระบบส่งกำลังมีเฉพาะเกียร์อัตโนมัติ 5 จังหวะ ระบบเบรกเพิ่มเอบีเอสแบบ 4 เซนเซอร์
ช่วงปลายอายุตลาดมีการปรับโฉมภายนอกอีกครั้ง แต่เป็นเพียงเล็กน้อย โดยเปลี่ยนกระจังหน้าเป็นรูปตัว T ชุบโครเมียม เปลี่ยนกันชนหน้าขนาดใหญ่ขึ้น ย้ายไฟเลี้ยวลงมาประกบข้างช่องดักลม ส่วนไฟส่องสว่างขณะเลี้ยวยังมีเหมือนเดิม ด้านข้างเปลี่ยนคิ้วกันกระแทกขนาดใหญ่ขึ้น ด้านหลังเปลี่ยนกันชนใหญ่ขึ้น
อุปกรณ์ภายในห้องโดยสาร และเครื่องยนต์แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลง ระบบส่งกำลังมีเฉพาะเกียร์อัตโนมัติ รุ่น 12 วาล์วเป็นแบบ 4 จังหวะ และรุ่น 24 วาล์วเป็นแบบ 5 จังหวะ
สำหรับคันนี้เป็นรุ่น 12 วาล์ว โฉมแรก เกียร์ธรรมดา ปี 1990 ราคาประมาณ 280,000 บาท ปี 1991 ประมาณ 310,000 บาท และปี 1992 ประมาณ 340,000 บาท
จุดเด่นของรถยนต์รุ่นนี้ อยู่ที่การใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหลัง ซึ่งมีความทนทานกว่ารถยนต์นั่งของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ ที่เปลี่ยนมาใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้ากันเกือบหมดแล้ว
แต่ก็มีส่วนทำให้เกิดจุดด้อยในเรื่องเนื้อที่ของห้องโดยสาร เมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้าในระดับเดียวกัน เนื่องจากส่วนหนึ่งต้องเสียไปเพราะอุโมงค์เกียร์ เพลากลาง และเฟืองท้าย
รูปทรงของรถยนต์ที่แบนเตี้ย กระจกหน้าหลังที่ลาดเทแบบสุดๆ ทำให้พื้นที่เหนือศีรษะค่อนข้างจำกัด โดยเฉพาะถ้าผู้โดยสารด้านหลังมีความสูงมากๆ ศีรษะอาจติดแผงบุหลังคาหรือกระจก
ระบบโซนาที่ทำงานร่วมกับโช้กอัพแบบปรับความหนืดอัตโนมัติด้วยไฟฟ้า ได้รับความสนใจมากตอนเปิดตัวใหม่ๆ แต่เมื่อโช้กอัพเสียบางคนก็เลือกเปลี่ยนเป็นแบบธรรมดา เพราะสู้ราคาไม่ไหว เนื่องจากแพงถึงตัวละประมาณ 10,000 บาท ถ้ารถยนต์มือสองรุ่นนี้คันใดเสีย ก็สามารถใช้เป็นข้อต่อรองลดราคาตอนซื้อได้ (ปัจจุบันนี้ มีโช้กอัพเชียงกง แบบไฟฟ้าตรงรุ่น ราคาคู่ละประมาณ 3,000-4,000 บาท รุ่นปรับไม่ได้ คู่ละไม่เกิน 3,000 บาท)
รุ่น 12 วาล์ว เครื่องยนต์มีกำลังแค่ 121 แรงม้า จึงอาจไม่สะใจบางคนที่เท้าหนัก หลายคันจึงเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่หรือโมดิฟายเพิ่ม เมื่อจะขายก็ถอดอุปกรณ์ออกหรือเปลี่ยนกลับ จึงควรสังเกตรอยนอตต่างๆ ว่ามีการถอดบ้างหรือไม่ หรือบางคันก็ขายออกมาพร้อมกับเครื่องยนต์ตัวใหม่เลย
ส่วนช่วงล่างและตัวถังก็ตรวจสอบตามปกติ โดยเลือกที่ไม่ชนหนัก เกียร์อัตโนมัติยังทำงานได้นุ่มนวล เปลี่ยนครบจังหวะตามปกติ ช่วงล่างหลังแบบมัลติลิงก์มีจุดให้หลวมเพียบ ถ้าดูจุดอื่นลงตัวหมด แต่ช่วงล่างหลวมหลายจุดมาก การเปลี่ยนยกชุดเป็นของมือสองเชียงกง อาจคุ้มค่ากว่า ถ้าชอบโฉมนี้และมีงบประมาณมากพอ ควรเลือกรุ่นปีท้ายๆ ประมาณ 1993 ขึ้นมา และเป็นรุ่นเกียร์อัตโนมัติ และต้องเลือกแบบใจเย็นที่สุด เพราะถึงแม้ในตลาดมือสองจะมีให้เลือกมากมายหลายคัน แต่สำหรับรถยนต์รุ่นนี้ ยิ่งปีเก่าๆ ก็จะหาคันที่สภาพสวยจริงๆ ได้ยาก
ถ้าคิดจะซื้อมาใช้กันยาวๆ จนเครื่องยนต์หมดอายุ นอกจากการโอเวอร์ฮอลเครื่องยนต์เดิมแล้ว ก็สามารถเปลี่ยนเครื่องยนต์จากเชียงกง หลายระดับความแรง ตั้งแต่ อาร์บี20ดีอี 152 แรงม้า ที่วางอยู่ในรุ่น 24 วาล์ว หรือขยับความแรงขึ้นมาหน่อยก็เป็นบล็อก อาร์บี20ดีอีที เทอร์โบ กำลังประมาณ 205 แรงม้า แล้วแต่รุ่นปี การวางแทบไม่ต้องดัดแปลงแท่นต่างๆ เลย
ถ้าเท้าหนักหรือใจร้อนก็ยังมี อาร์บี25 2,500 ซีซี ทั้งแบบมีและไม่มีเทอร์โบให้เลือก และแรงสุดด้วย อาร์บี26ดีอีทีที 2,600 ซีซี ทวินเทอร์โบ ซึ่งต้องมีการดัดแปลงมากกว่าบล็อกอื่น เนื่องจากวางในรถสปอร์ต สกายไลน์ ซึ่งเป็นแบบขับเคลื่อน 4 ล้อ มีกำลัง 280 แรงม้า
สำหรับคนที่อยากแต่งสวยแต่งแรง ก็มีสารพัดอุปกรณ์ให้เลือกใช้ ทั้งอุปกรณ์ตกแต่งจากสารพัดสำนัก หรืออะไหล่เชียงกงที่ยกมาจากนิสสันรุ่นอื่นๆ นำมาดัดแปลงใส่กันได้ไม่ยาก หรือแทบจะไม่ได้ดัดแปลงเลยก็มี เช่น 200เอสเอ็กซ์ หรือสกายไลน์
ความน่าสนใจโดยรวมอยู่ที่ราคาไม่แพง รูปลักษณ์ที่ยังดูทันสมัย สวยปราดเปรียวแบบสปอร์ตซีดาน อะไหล่มีเพียบทั้งแท้เทียบเทียมใหม่เก่า หรือดัดแปลงข้ามมาจากนิสสันรุ่นอื่น ความทนทานไว้ใจได้ ระบบเบรกมั่นใจ สมรรถนะการทรงตัวดี โดยมีจุดด้อยอยู่ที่ห้องโดยสารแคบไปหน่อย กินน้ำมันมากกว่ารถยนต์ญี่ปุ่นขับเคลื่อนล้อหน้าระดับเดียวกัน อะไหล่มีมาก แต่บางชิ้นก็แพง (ไม่ถึงกับกระเป๋าฉีก) และหาคันที่สภาพดีจริงๆ ได้ไม่ง่ายนัก
นิสสัน เซฟิโร ขับเคลื่อนล้อหลัง คุ้มราคา ทนทาน อะไหล่หาไม่ยาก แต่แพง (ไม่มาก) ในบางชิ้น ภายในแคบนิด แต่หาคันที่สภาพสวยได้ยาก
</td> </tr> <tr> <td>
</td> </tr> </tbody></table]
<table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="624"><tbody><tr><td]<table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="624"><tbody><tr><td valign="top" width="284" height="256"] เซฟิโร เอ31 ขับหลัง
นิสสัน เซฟิโร รุ่นแรกในไทย รหัสตัวถัง เอ31 เปิดตัวในปี 1990 มาพร้อมสารพัดความไฮเทคเหนือรถยนต์ยุคเดียวกัน ทำตลาดด้วยรุ่นซีดานกับเครื่องยนต์บล็อกหลัก อาร์บี20 6 สูบเรียง 2,000 ซีซีล้วน มีการปรับโฉมหลักๆ 3 ครั้ง รุ่นสุดท้ายหมดในปี 1996 และเปลี่ยนโฉมเป็น เอ32 ขับเคลื่อนล้อหน้า
รูปลักษณ์ภายนอกโค้งมนตลอดตัวถังคันยาว กระจกหน้าหลังลาดเทมาก โดยรวมดูแล้วเป็นทรงลิ่มแบบสปอร์ตซีดาน แหวกแนวด้วยไฟหน้าโปรเจกเตอร์ทรงกลม พื้นหลังของโคมเป็นลอนสีดำ กระจังหน้าพลาสติกใส เว้นช่องดักลมคู่ทรงรี ตรงกลางฝังโลโกไว้ในเนื้อกระจัง มุมกันชนหน้าติดตั้งไฟเลี้ยวแบบโคมเหลืองทรงมน ด้านล่างเว้นช่องดักลม </td> <td valign="top" width="340"]
ด้านข้างสะดุดตาด้วยที่เปิดประตูทรงเพรียว และกระจกโอเปราบนเสากระจกหลังด้านข้าง (รถยนต์ส่วนใหญ่อยู่รวมกับประตูบานหลัง) กลางตัวถังคาดคิ้วกันกระแทก ชายล่างยกสันเล็กน้อย ล้อแม็กลายหยดน้ำขนาด 15 นิ้วพร้อมฝาปิดดุมกลาง
โคมไฟเลี้ยวด้านหลังสีเหลืองเป็นลอนลูกฟูก ไฟถอยหลังทรงกลมอยู่รวมกับชุดไฟเบรก ตรงกลางเป็นแผงทับทิมสีแดง กันชนหลังเว้นช่องติดป้ายทะเบียน ฝากระโปรงหลังเปิดได้แค่ขอบบนของไฟท้าย
มิติตัวถังยาว 4,710 มิลลิเมตร กว้าง 1,695 มิลลิเมตร สูง 1,375 มิลลิเมตร ระยะห่างฐานล้อ 2,670 มิลลิเมตร น้ำหนักรุ่นเกียร์ธรรมดา 1,290 กิโลกรัม รุ่นเกียร์อัตโนมัติ 1,310 กิโลกรัม
ภายในมีพวงมาลัย 3 ก้านพร้อมเพาเวอร์ ปรับระดับสูง-ต่ำ-ใกล้-ไกล ระบบปรับอากาศและเปิด-ปิดไฟหน้าแบบอัตโนมัติ เบาะนั่งและแผงข้างหุ้มด้วยผ้าลายกระสอบ มีเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุด ไม่มีแอร์แบ็ก
เริ่มบุกตลาดด้วยรุ่น 12 วาล์ว เครื่องยนต์รหัส อาร์บี20อี แบบเบนซิน 6 สูบเรียง วางตามยาว หัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ ECCS แคมชาฟต์เดี่ยว 12 วาล์ว ความกว้างกระบอกสูบ 78 มิลลิเมตร ช่วงชัก 69.7 มิลลิเมตร ความจุ 1,998 ซีซี อัตราส่วนการอัด 9.5 : 1 พร้อมระบบ DUET-EA ควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์และเกียร์อัตโนมัติให้สอดคล้องกันให้กำลังสูง สุด 121 แรงม้า (PS) ที่ 5,200 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 17.6 กก.-ม. ที่ 4,400 รอบ/นาที ส่งกำลังผ่านเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ หรืออัตโนมัติ 4 จังหวะ ขับเคลื่อนล้อหลัง
ระบบบังคับเลี้ยวแบบแร็กแอนด์พิเนียนพร้อมเพาเวอร์ ช่วงล่างแบบอิสระ พร้อมเหล็กกันโคลงทั้ง 4 ล้อ ด้านหน้าแม็กเฟอร์สันสตรัต คอยล์สปริงเยื้องศูนย์ TENSION ROD ด้านหลังมัลติลิงก์ ระบบเบรกแบบดิสก์ 4 ล้อ ไม่มีเอบีเอส ล้อแม็กขนาด 6 x 15 นิ้ว ยางขนาด 205/60R15
พิเศษด้วยระบบ DUET-SS มีโซนาตรวจสอบสภาพเส้นทางข้างหน้า แล้วปรับความหนืดของโช้กอัพ และน้ำหนักของพวงมาลัยให้เหมาะสม นอกจากการปรับอัตโนมัติแล้วก็มีสวิตช์บนแผงหน้าปัด ให้ผู้ขับเลือกได
ถ้าปรับไปที่โหมด COMFORT แล้วใช้ความเร็วปกติ พวงมาลัยจะเบา โช้กอัพจะนิ่ม และจะแข็งขึ้นเล็กน้อยเมื่อขับเร็ว แต่ถ้าปรับไปที่โหมด SPORT พวงมาลัยจะหนัก และโช้กอัพจะแข็ง
ทำตลาดได้ประมาณ 3 ปี ในช่วงปี 1993 ก็เพิ่มรุ่นเครื่องยนต์ 24 วาล์ว พร้อมปรับโฉมภายนอก เปลี่ยนพื้นหลังของโคมไฟหน้า เป็นแบบซี่ตั้งชุบโครเมียม เปลี่ยนกระจังหน้าเป็นช่องดักลมเดี่ยว ติดโลโก้ตรงกลาง กันชนหน้าเปลี่ยนใหม่ ช่องดักลมด้านล่างกว้างขึ้น เพิ่มไฟส่องด้านข้างขณะเลี้ยว
ย้ายคิ้วกันกระแทกด้านข้าง มาไว้ด้านล่างของสันข้างตัวถัง ด้านหลังเปลี่ยนไฟท้ายใหม่เป็นแบบเรียบแทนแบบลอน ไฟเลี้ยวอยู่ด้านนอก ตรงกลางเป็นไฟเบรก และไฟถอยหลังอยู่ด้านในสุด แทรกกลางด้วยแผงทับทิม ส่วนกันชนหลังไม่ได้เปลี่ยน
ไฟท้ายในรุ่นปรับโฉมนี้แบ่งเป็น 2 รุ่นย่อย ตามสีของทับทิมที่ล้อมชุดไฟท้าย ช่วงแรกเป็นทับทิมสีแดงเข้มจนเกือบดำ จึงเรียกว่ารุ่น /'/ท้ายดำ/'/ ช่วงหลังเปลี่ยนเป็นสีแดงสด จึงเรียกว่ารุ่น /'/ท้ายแดง/'/
ภายในรุ่น 12 วาล์ว เปลี่ยนวัสดุหุ้มเบาะเป็นหนังชามัวร์ ส่วนรุ่น 24 วาล์ว เป็นเบาะหนังแท้ ปรับทิศทางด้วยไฟฟ้า ทั้ง 2 รุ่นใช้พวงมาลัยแบบ 4 ก้าน จากเดิมรุ่นแรกเป็น 3 ก้าน
เพิ่มรุ่น 24 วาล์ว เป็นเครื่องยนต์บล็อก อาร์บี20ดีอี ใช้เสื้อสูบเดิม แต่เปลี่ยนฝาสูบเป็นแบบทวินแคม 24 วาล์ว แรงกว่ารุ่น 12 วาล์ว มีกำลังสูงสุด 152 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 18.5 กก.-ม. ที่ 5,200 รอบ/นาที ระบบส่งกำลังมีเฉพาะเกียร์อัตโนมัติ 5 จังหวะ ระบบเบรกเพิ่มเอบีเอสแบบ 4 เซนเซอร์
ช่วงปลายอายุตลาดมีการปรับโฉมภายนอกอีกครั้ง แต่เป็นเพียงเล็กน้อย โดยเปลี่ยนกระจังหน้าเป็นรูปตัว T ชุบโครเมียม เปลี่ยนกันชนหน้าขนาดใหญ่ขึ้น ย้ายไฟเลี้ยวลงมาประกบข้างช่องดักลม ส่วนไฟส่องสว่างขณะเลี้ยวยังมีเหมือนเดิม ด้านข้างเปลี่ยนคิ้วกันกระแทกขนาดใหญ่ขึ้น ด้านหลังเปลี่ยนกันชนใหญ่ขึ้น
อุปกรณ์ภายในห้องโดยสาร และเครื่องยนต์แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลง ระบบส่งกำลังมีเฉพาะเกียร์อัตโนมัติ รุ่น 12 วาล์วเป็นแบบ 4 จังหวะ และรุ่น 24 วาล์วเป็นแบบ 5 จังหวะ
สำหรับคันนี้เป็นรุ่น 12 วาล์ว โฉมแรก เกียร์ธรรมดา ปี 1990 ราคาประมาณ 280,000 บาท ปี 1991 ประมาณ 310,000 บาท และปี 1992 ประมาณ 340,000 บาท
จุดเด่นของรถยนต์รุ่นนี้ อยู่ที่การใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหลัง ซึ่งมีความทนทานกว่ารถยนต์นั่งของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ ที่เปลี่ยนมาใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้ากันเกือบหมดแล้ว
แต่ก็มีส่วนทำให้เกิดจุดด้อยในเรื่องเนื้อที่ของห้องโดยสาร เมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้าในระดับเดียวกัน เนื่องจากส่วนหนึ่งต้องเสียไปเพราะอุโมงค์เกียร์ เพลากลาง และเฟืองท้าย
รูปทรงของรถยนต์ที่แบนเตี้ย กระจกหน้าหลังที่ลาดเทแบบสุดๆ ทำให้พื้นที่เหนือศีรษะค่อนข้างจำกัด โดยเฉพาะถ้าผู้โดยสารด้านหลังมีความสูงมากๆ ศีรษะอาจติดแผงบุหลังคาหรือกระจก
ระบบโซนาที่ทำงานร่วมกับโช้กอัพแบบปรับความหนืดอัตโนมัติด้วยไฟฟ้า ได้รับความสนใจมากตอนเปิดตัวใหม่ๆ แต่เมื่อโช้กอัพเสียบางคนก็เลือกเปลี่ยนเป็นแบบธรรมดา เพราะสู้ราคาไม่ไหว เนื่องจากแพงถึงตัวละประมาณ 10,000 บาท ถ้ารถยนต์มือสองรุ่นนี้คันใดเสีย ก็สามารถใช้เป็นข้อต่อรองลดราคาตอนซื้อได้ (ปัจจุบันนี้ มีโช้กอัพเชียงกง แบบไฟฟ้าตรงรุ่น ราคาคู่ละประมาณ 3,000-4,000 บาท รุ่นปรับไม่ได้ คู่ละไม่เกิน 3,000 บาท)
รุ่น 12 วาล์ว เครื่องยนต์มีกำลังแค่ 121 แรงม้า จึงอาจไม่สะใจบางคนที่เท้าหนัก หลายคันจึงเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่หรือโมดิฟายเพิ่ม เมื่อจะขายก็ถอดอุปกรณ์ออกหรือเปลี่ยนกลับ จึงควรสังเกตรอยนอตต่างๆ ว่ามีการถอดบ้างหรือไม่ หรือบางคันก็ขายออกมาพร้อมกับเครื่องยนต์ตัวใหม่เลย
ส่วนช่วงล่างและตัวถังก็ตรวจสอบตามปกติ โดยเลือกที่ไม่ชนหนัก เกียร์อัตโนมัติยังทำงานได้นุ่มนวล เปลี่ยนครบจังหวะตามปกติ ช่วงล่างหลังแบบมัลติลิงก์มีจุดให้หลวมเพียบ ถ้าดูจุดอื่นลงตัวหมด แต่ช่วงล่างหลวมหลายจุดมาก การเปลี่ยนยกชุดเป็นของมือสองเชียงกง อาจคุ้มค่ากว่า ถ้าชอบโฉมนี้และมีงบประมาณมากพอ ควรเลือกรุ่นปีท้ายๆ ประมาณ 1993 ขึ้นมา และเป็นรุ่นเกียร์อัตโนมัติ และต้องเลือกแบบใจเย็นที่สุด เพราะถึงแม้ในตลาดมือสองจะมีให้เลือกมากมายหลายคัน แต่สำหรับรถยนต์รุ่นนี้ ยิ่งปีเก่าๆ ก็จะหาคันที่สภาพสวยจริงๆ ได้ยาก
ถ้าคิดจะซื้อมาใช้กันยาวๆ จนเครื่องยนต์หมดอายุ นอกจากการโอเวอร์ฮอลเครื่องยนต์เดิมแล้ว ก็สามารถเปลี่ยนเครื่องยนต์จากเชียงกง หลายระดับความแรง ตั้งแต่ อาร์บี20ดีอี 152 แรงม้า ที่วางอยู่ในรุ่น 24 วาล์ว หรือขยับความแรงขึ้นมาหน่อยก็เป็นบล็อก อาร์บี20ดีอีที เทอร์โบ กำลังประมาณ 205 แรงม้า แล้วแต่รุ่นปี การวางแทบไม่ต้องดัดแปลงแท่นต่างๆ เลย
ถ้าเท้าหนักหรือใจร้อนก็ยังมี อาร์บี25 2,500 ซีซี ทั้งแบบมีและไม่มีเทอร์โบให้เลือก และแรงสุดด้วย อาร์บี26ดีอีทีที 2,600 ซีซี ทวินเทอร์โบ ซึ่งต้องมีการดัดแปลงมากกว่าบล็อกอื่น เนื่องจากวางในรถสปอร์ต สกายไลน์ ซึ่งเป็นแบบขับเคลื่อน 4 ล้อ มีกำลัง 280 แรงม้า
สำหรับคนที่อยากแต่งสวยแต่งแรง ก็มีสารพัดอุปกรณ์ให้เลือกใช้ ทั้งอุปกรณ์ตกแต่งจากสารพัดสำนัก หรืออะไหล่เชียงกงที่ยกมาจากนิสสันรุ่นอื่นๆ นำมาดัดแปลงใส่กันได้ไม่ยาก หรือแทบจะไม่ได้ดัดแปลงเลยก็มี เช่น 200เอสเอ็กซ์ หรือสกายไลน์
ความน่าสนใจโดยรวมอยู่ที่ราคาไม่แพง รูปลักษณ์ที่ยังดูทันสมัย สวยปราดเปรียวแบบสปอร์ตซีดาน อะไหล่มีเพียบทั้งแท้เทียบเทียมใหม่เก่า หรือดัดแปลงข้ามมาจากนิสสันรุ่นอื่น ความทนทานไว้ใจได้ ระบบเบรกมั่นใจ สมรรถนะการทรงตัวดี โดยมีจุดด้อยอยู่ที่ห้องโดยสารแคบไปหน่อย กินน้ำมันมากกว่ารถยนต์ญี่ปุ่นขับเคลื่อนล้อหน้าระดับเดียวกัน อะไหล่มีมาก แต่บางชิ้นก็แพง (ไม่ถึงกับกระเป๋าฉีก) และหาคันที่สภาพดีจริงๆ ได้ไม่ง่ายนัก
นิสสัน เซฟิโร ขับเคลื่อนล้อหลัง คุ้มราคา ทนทาน อะไหล่หาไม่ยาก แต่แพง (ไม่มาก) ในบางชิ้น ภายในแคบนิด แต่หาคันที่สภาพสวยได้ยาก
</td> </tr> <tr> <td>
</td> </tr> </tbody></table]